ชุมชนแนะนำ
ดูทั้งหมด >>
หลวงพรต-ท่านเลี่ยม
กรุงเทพมหานครชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย

ตลาดน้อย
กรุงเทพมหานครความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ

บ้านเมืองบัว
ร้อยเอ็ดชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายหรือยุคโลหะตอนปลาย มีโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมร(กู่เมืองบัว) สิมหรืออุโบสถในวัฒนธรรมลาว มีความเชื่อเรื่องผีที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนและข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
บ้านแม่หมีใน
ลำปางบ้านแม่หมีใน ชนกลุ่มปกาเกอญอเผ่าสะกอ อพยพมาจากบ้านเมืองคอน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 175 ปี เป็นไปเพื่อแสวงหาที่ทำกินใหม่โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบสูงที่ราบหุบเขาริมห้วยแม่หมี
บ้านรักไทย
แม่ฮ่องสอนหมู่บ้านรักไทย ได้นำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนยูนนานมานำเสนอ ปรับเปลี่ยนรูปแบบชุมชน ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
บ้านนาตะกรุด
เพชรบูรณ์วัดโพธิ์ทอง เป็นทั้งศาสนสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สามารถแวะเที่ยวชมกำแพงประตูศิลปะขอม และเข้าสักการะหลวงพ่อหินเขียว ที่จะจัดให้มีพิธีสำคัญฉลองในวันวิสาขบูชาของทุก ๆ ปี
เกาะปันหยี
พังงาบ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
ตลาดร้อยปีสามชุก
สุพรรณบุรีชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอสามชุก และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
ข้อมูลชุมชนล่าสุด
ดูทั้งหมด >>ประเภทชุมชน
ดูทั้งหมด >>หมู่บ้านรักไทย ได้นำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนยูนนานมานำเสนอ ปรับเปลี่ยนรูปแบบชุมชน ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
ชุมชนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ทำให้มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมรูปแบบชาวมอญภายในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงและโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า "เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด" นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาสนถานที่สำคัญของชาวมอญอย่าง "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งภายในวัดแห่งนี้จะมีเจดีย์เอียงอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพื้นที่เกาะเกร็ด
บ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
บ้านคลิตี้ล่าง เป็นหมู่บ้านที่มีการปฏิบัติสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง แม้ตกอยู่ภายใต้สภาวะปัญหาปนเปื้อนของลำห้วยคลิตี้ อันเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวคลิตี้ล่างไป
หมู่บ้านดอยช้างมีวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อ คือ กาแฟดอยช้าง จำหน่ายส่งออกไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันกาแฟดอยช้างได้ชื่อว่าเป็นการดำเนินงานในรูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
ชุมชนแบ่งตามภูมิภาค
ดูทั้งหมด >>ชุมชนบ้านสามสบบน ในพื้นที่บริเวณจุดบรรจบของลำห้วยใหญ่สามสาย เรียกว่า “สามสบ” พื้นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง (สะกอ) กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ
บ้านสุเม่นเหนือ หย่อมบ้านห้วยระแห้ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่มีวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์
บ้านปางกิ่วเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยนที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม สะท้อนให้เห็นผ่านการรักษาขนบการประกอบพิธีกรรมศพและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
นั่งหลังช้างชมธรรมชาติ สัมผัสบรรยากาศหมู่บ้านกลางหุบเขา ยลวิถีอัตลักษณ์ปกาเกอะญอที่บ้านทิโพจิ
ป่าไม้สมบูรณ์ เป็นแหล่งหาเห็ดโคน มีวัดบ่อเก่าบน เป็นแหล่งรวมศรัทธา และประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา วัดสงบร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีศาลากลางน้ำและโบสถ์ที่สวยงาม
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปบ้านเสน่ห์พ่องบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับมรดกภูมิปัญญาตำรับยาสมุนไพรสะเนพ่อง และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชน
1. ใจกลางชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน 2. ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีลำห้วยคลองเคียนที่ไหลผ่านชุมชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน บริเวณลำห้วยคลองเคียนมีต้นยางน่อง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนำมาทำยาพิษในการล่าสัตว์ 3. มีลำห้วยคอกควายไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยคลองเคียน มีปริมาณน้ำที่ไหลเวียนมากกว่าและงดงามกว่าลำห้วยคลองเคียน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักของคนในชุมชน 4. ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ อยู่ลึกและห่างจากถนนสายหลัก สายบ้านไร่ – ลานสัก ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร ชุมชนแห่งนี้จึงรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์แบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ค่อนข้างดี