-
บ้านศรีบุญยืน สถานที่ตั้งวัดศรีบุญยืน ภายในวัดแห่งนี้มีศาลาการเปรียญแต่งยอดจั่วช่อฟ้าปั้นลม และพระอุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบล้านนา ทั้งรูปทรง ตลอดจนหน้าบันวิหารที่แกะสลักรูปราศรีเกิดทั้ง 12 ราศรี สร้างสรรค์โดยฝีมือสล่าพื้นบ้าน
-
บ้านดงหลวงเป็นชุมชนที่ยังคงประเพณีดั้งเดิมที่สำคัญของคนพื้นเมืองไว้อย่างดี มีพระวิหารหลวงบ้านดงหลวงเป็นสถานที่สำคัญของชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก และมีการร่วมกันสืบสานเทศกาลประเพณีที่สำคัญตลอดสิบสองเดือน
-
ชุมชนที่ให้ความสำคัญกับป่าไม้ จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรและช่วยกันอนุรักษ์ป่าน้ำจำ ซึ่งเป็นป่าชุมชนที่มีความสำคัญ
-
ชุมชนของชาวยองบ้านศรีเมืองยู้ มีประวัติศาสตร์ของชุมชนที่ยาวนาน และยังคงปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบัน อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตที่หลากหลาย
-
บ้านวังมุย สถานที่ตั้งวัดชัยมงคลหรือวัดวังมุย สถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย และหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก
-
วัดมหาวัน สถานที่ประดิษฐานพระรอดหลวงคู่เมืองลำพูนมานานนับ 1,400 ปี ต้นตำนานแห่งพระรอดเมืองลำพูน พระเครื่องชื่อดังที่นักสะสมพระเครื่องต่างต้องการมีไว้ครอบครอง
-
หมู่บ้านวัฒนธรรมชาวไทยอง ที่ตั้งหอไตรวัดล่ามช้าง 1 ใน 10 หอไตรที่ได้รับขนานนามว่าวิจิตรงดงามมากที่สุดในจังหวัดลำพูน
-
ภายในชุมชนบ้านป่าเหียงมีเฮือนไทลื้อโบราณอายุกว่า 70 ปี ซึ่งเป็นเฮือนไทลื้อหลังสุดท้ายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในตำบลบ้านธิ
-
-
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุ ผ้าฝ้ายทอมือสามสีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน จากการผสมผสานของเส้นใยฝ้ายหลายสายพันธุ์โดยไม่ผ่านการย้อมสี เพื่อมุ่งเน้นการรักษาและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะที่เกิดจากสารเคมีและน้ำเสียในการฟอกย้อมสี จนได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green Production ได้มาตรฐานระดับดีเด่น ประจำปี 2565
-
เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงโพล่งที่มีการทอผ้าลายจกกี่เอวที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ ของชุมชนลุ่มน้ำแม่ขนาด
-
ชุมชนที่ยังคงยึดมั่นในการอนุรักษ์ชุมชนและวัฒนธรรมประเพณีชาวมอญ เช่น การรำผีเม็ง(มอญ) ประเพณีลอยอะมด(ลอยกระทง)