-
ชุมชนเมืองเก่าสงขลาเป็นพื้นที่เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 200 ปี ภายในชุมชนมีสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่มีหลากหลายรูปแบบของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งรูปแบบอาคารตึกแถวแบบจีน แบบไทยและแบบตะวันตกปะปนสองข้างถนนภายในชุมชน จุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของหลากหลายวัฒนธรรมภายในเมืองเก่าสงขลา ทั้งนี้ปัจจุบันจึงสามารถสัมผัสกลิ่นอายประวัติศาสตร์ความเป็นพหุวัฒนธรรมในอดีตของเมืองสงขลาได้ในพื้นที่นี้
-
สุเหร่าผดุงธรรมอิสลามเป็น “สุเหร่า” แห่งแรกของแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่วัฒนธรรมสามกะดี-สี่สุเหร่า
-
ชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย
-
น้ำเกี๋ยน เป็นชุมชนเก่าแก่ มีอายุราว 190 ปี มีลำห้วยน้ำเกี๋ยนไหลผ่าน เสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมานานความเป็นอยู่ของผู้คนที่นี่ยังคงพึ่งพาอาศัยกัน เป็นสังคมเครือญาติ แม้จะแยกออกเป็น 5 หมู่บ้าน ด้วยความเป็นเครือญาติ ความสัมพันธ์คนตำบลน้ำเกี๋ยน จึงยึดโยงกันอย่างเหนียวแน่น ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
-
กุฎีหลวง เป็นศาสนาสถานแห่งแรกของแขกเจ้าเซ็น ที่มีบทบาทในการสร้างชุมชนแขกเจ้าเซ็นให้มีความมีความเป็นปึกแผ่น นับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินสร้างศาสนสถาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการตั้งชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลานั้นสืบต่อมาอีกกว่า 150 ปี
-
มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา กะดีแห่งสุดท้ายของแขกเจ้าเซ็น เนื่องจากเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในสังคมธนบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนแนวถนนอิสรภาพ ฝังธนบุรี เช่นเดียวกับกะดีอื่นในพื้นที่ชุมชนไทยชีอะห์อิชนาอะชะรี (สามกะดี-สี่สุเหร่า)
-
บ้านโคกล่ามชุมชนทอผ้าที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากไม้มงคลได้รับรางวัลพระราชทาน จากวิถีชีวิตประจำของผู้หญิงอีสานสู่ผ้าทอที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ
-
น้ำตกแม่เหยี่ยน ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เลิศล้ำหัตถกรรมจักสาน ถิ่นฐานคูเมืองเก่าลือชื่อ ข้าวซ้อมมือดีมีในตำบล ป่าชุมชนระบือนามทั่ว บึงงามนามหนองบัว อุตสาหกรรมครอบครัวหน่อไม้ปี๊บ
-
ลุ่มแม่น้ำแม่วาง เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากร ความหลากหลายของกลุ่มคน ชาติพันธุ์ การทำมาหากินหลายรูปแบบ การจัดการทรัพยากรที่อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการผลิตที่ชาวบ้านเรียกว่า "อาหารจานอร่อยที่ทำให้เรามีกินตลอด" ซึ่งได้พัฒนาคู่การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝ่าย ที่เป็นหัวใจสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการผลิต
-
กุฎีเจริญพาศน์ เป็นกะดีเพียงแห่งเดียวในกลุ่มพื้นที่วัฒนธรรมแขกเจ้าเซ็นสามกะดี-สี่สุเหร่า ที่ยังไม่จดทะเบียนเป็นมัสยิด และยังคงรักษาอัตลักษณ์ความเป็น “กะดี” โดยนามไว้ได้