Advance search

กุฎีนอก, กุฎีปลายนา

มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา กะดีแห่งสุดท้ายของแขกเจ้าเซ็น เนื่องจากเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในสังคมธนบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนแนวถนนอิสรภาพ ฝังธนบุรี เช่นเดียวกับกะดีอื่นในพื้นที่ชุมชนไทยชีอะห์อิชนาอะชะรี (สามกะดี-สี่สุเหร่า)

มัสยิดดิลฟัลลาห์
วัดอรุณ
บางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร
มัสยิดดินฟัลลาห์ โทร. 08-1423-2457, เขตบางกอกใหญ่ โทร. 0-2457-0069
วิไลวรรณ เดชดอนบม
30 มี.ค. 2023
วิไลวรรณ เดชดอนบม
30 มี.ค. 2023
มัสยิดดิลฟัลลาห์
กุฎีนอก, กุฎีปลายนา

มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีปลายนา ตั้งอยู่ริมคลองวัดพลับ พื้นที่แห่งนี้เดิมเคยเป็นปลายนาหลวงในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ปลายนา ส่วนชื่อกุฎีนอกนั้น มีข้อสันนิษฐานว่า ในอดีตกะดีแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกะดีอื่น 


มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา กะดีแห่งสุดท้ายของแขกเจ้าเซ็น เนื่องจากเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในสังคมธนบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนแนวถนนอิสรภาพ ฝังธนบุรี เช่นเดียวกับกะดีอื่นในพื้นที่ชุมชนไทยชีอะห์อิชนาอะชะรี (สามกะดี-สี่สุเหร่า)

มัสยิดดิลฟัลลาห์
วัดอรุณ
บางกอกใหญ่
กรุงเทพมหานคร
10600
13.738368
100.485337
กรุงเทพมหานคร

มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือภาษาปากของแขกเจ้าเซ็นรียกว่า กุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา กะดีแห่งสุดท้ายของแขกเจ้าเซ็น เนื่องจากเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในสังคมธนบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนแนวถนนอิสรภาพ ฝังธนบุรี เช่นเดียวกับกะดีอื่นในพื้นที่ชุมชนไทยชีอะห์อิชนาอะชะรี (สามกะดี-สี่สุเหร่า) แม้ไม่ปรากฏหลักฐานถึงวันเวลาการสร้างหรือการรวมตัวของแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่แห่งนี้ หากแต่มีข้อมูลสันนิษฐานว่าอาจก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้สร้างกุฎีชื่อ ชิต อาดัมอาลี ชาวอินเดียจากเมืองลัคเนา

เมื่อ พ.ศ. 2480 ราชการได้ทำการเวนคืนที่ดินเพื่อขยายแนวถนนอิสรภาพ (พระเจ้ากรุงธนสาย 2) เป็นเหตุให้ที่ดินเดิมของกะดีปลายนาถูกเวนคืนไปจนเกือบหมด ระเบียงด้านหน้าถูกตัดเป็นอาณาเขตถนน แต่ทางราชการก็ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแก่นายชิต อาดัมอาลี หัวหน้ากุฎีปลายนาไปเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม กุฎีปลายนาแห่งนี้ยังคงดำรงอยู่ และได้รับการบูรณะซ่อมแซมเพื่อรองรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าภายหลังจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในชื่อ มัสยิดดิลฟัลลาห์ แต่แขกเจ้าเซ็นในพื้นที่ยังคงคุ้นเคยกับชื่อเรียกเดิม และเรียกขานนามกุฎีแห่งนี้ว่า กุฎีปลายนา มาจนปัจจุบัน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กุฎีปลายนาเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่สร้างขึ้นในสังคมธนบุรี เป็นชุมชนแขกเจ้าเซ็นที่รวมตัวจากผู้คนร่วมวัฒนธรรม และร่วมอาชีพจากมุสลิมนิกายชีอะห์จากอยุธยา

ระบบเครือญาติ

เนื่องจากชุมชนแขกเจ้าเซ็นในพื้นที่ทางวัฒนธรรมสามกะดี-สี่สุเหร่า เป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมกัน การลำดับญาติในชุมชนจึงมีความเชื่อมโยงกัน เห็นได้จากระบบสายตระกูลสำคัญ 2 สายหลัก ได้แก่ “สายบ้านบน” หรือ “สายพี่” โดยพระยาจุฬามนตรี (ก้อนแก้ว) ผู้สร้างกุฎีเซ็น และ “สายบ้านล่าง” หรือ “สายน้อง” โดยพระยาจุฬามนตรี (อากาหยี่) ผู้สร้างกุฎีเจริญพาศน์ ขณะเดียวกัน สายกุฎีปลายนา หรือกุฎีนอก ยังเป็นชุมชนแขกเจ้าเซ็นอีกแห่งหนึ่งที่สามารถนับญาติได้สัมพันธ์กัน ทั้งโดยประวัติโคตรวงศ์จากสายพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) ผู้เป็นบิดาของพระยาจุฬาราชมนตรีทั้งสองดังที่กล่าวมา

แขกเจ้าเซ็นที่ในพื้นที่มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก เป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมและอาชีพร่วมกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในอดีตแขกเจ้าเซ็นกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการค้าขายทางน้ำ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องไม้ใช้สอย ภาชนะในครัวเรือน ประเภทถ้วยชามหลากชนิด ออกเร่ขายล่องตามลำน้ำคูคลองสายสำคัญ ผู้คนในสังคมอยุธยาเรียกอาชีพของแขกกลุ่มนี้ว่า พวกเรือเครื่องเทศ

ในสมัยกรุงธนบุรีสืบต่อมาจนรัตนโกสินทร์ แขกเจ้าเซ็น เป็นชุมชนสังคมเมืองที่มีพื้นฐานค่านิยมเป็นสังคมข้าราชการ คือการมีบรรดาศักดิ์นำหน้าราชทินนามด้วยยศชั้นขุน หลวง พระ พระยา ฯลฯ รวมถึงข้าราชบริพารฝ่ายใน เช่น เจ้าจอมต่าง ๆ ทำให้มีการมองภาพแทนทางเศรษฐกิจของชุมชนแขกเจ้าเซ็นว่าเป็น แขกเจ้า” ซึ่งมีการปลูกฝังให้ลูกหลานมุ่งเข้าสู่อาชีพข้าราชการ หรือองค์กรที่ขึ้นต่อหน่วยงานของรัฐมากกว่าการประกอบอาชีพในภาคงานอื่น ๆ ทำให้แขกเจ้าเซ็นส่วนใหญ่มีฐานรายได้หลักมาจากการเข้ารับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ รวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และบางส่วนที่เข้าทำงานในภาคเอกชน และภาคธุรกิจ เช่น ค้าขาย ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น 

แขกเจ้าเซ็นในพื้นที่มัสยิดดิลฟัลลาห์ มีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับชาวมุสลิมทั่วไป วิถีชีวิตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นผ่านรูปแบบการจัดประเพณีพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญในรอบปี ได้แก่ งานเมาลิดดินนบี การถือศีลอด วันตรุษฟิตริ และวันตรุษอัฏฮา ขณะเดียวกันแขกเจ้าเซ็นก็มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติเฉพาะในกลุ่มชาวแขกเจ้าเซ็นเท่านั้น ได้แก่ พิธีเจ้าเซ็น พิธีอาบน้ำอาคะหรี่ วันซุบบะหราต และวันอีดเฆาะดีรข่ม

  • พิธีเจ้าเซ็น หรือพิธีมะหะหร่ำ : บางครั้งเรียกว่า พิธีอาชูรอ พิธีดังกล่าวเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญที่สุดในรอบปีของแขกเจ้าเซ็น เพื่อย้ำเตือนอุดมการณ์ทางศาสนา และรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอิหม่ามฮูเซน

  • อาบน้ำอาคะหรี่ : เป็นวันแห่งการชำระล้างร่างกายของแขกเจ้าเซ็น โดยเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าจะทรงขจัดสิ่งอัปมงคลต่าง ๆ ออกจากชีวิตมนุษย์ผู้ศรัทธา ตลอดจนขจัดความชั่วร้ายออกจากสังคมของมวลมนุษย์

  • วันซุบบะหราต หรือบุญนิสฟูชะอ์บาน : เป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ระหว่างวันที่ 15 เดือนชะอ์บาน เป็นเวลา 15 วัน ก่อนเข้าสู่เดือนแห่งการถือศีลอด

  • วันอีดเฆาะดีรข่ม : เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองที่ศาสดามุฮัมหมัดได้แต่งตั้งอะลีให้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม เพื่อทำหน้าที่ผู้นำประชาคมมุสลิมต่อจากนบีมุฮัมหมัด

นอกจากนี้ยังมีบุญประเพณีที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญของแขกเจ้าเซ็น หรือที่เรียกว่า บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ 14 ท่าน ทุกปีเมื่อถึงวันวิลาดัต (วันคล้ายวันเกิด) วันวะฝาด (วันคล้ายวันสิ้นชีพ ในกรณีที่เสียชีวิตโดยปกติทั่วไป) และวันชะฮาดัต หรือชะฮีต (วันคล้ายวันสิ้นชีพ ในกรณีที่บุคคลนั้น ๆ ถูกสังหาร หรือพลีชีพในวิถีทางศาสนาอิสลาม) ของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ แขกเจ้าเซ็นจะมีการจัดพิธีรำลึกพร้อมนำเกร็ดประวัติของบุคคลเหล่านั้นกลับมาเล่าพรรณนาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ หนึ่งปีของปฏิทินอิสลามในสังคมแขกเจ้าเซ็น จึงถูกกำหนดให้มีวันสำคัญเกี่ยวกับบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ตลอดทั้งปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พ.ศ. 2490 มีการตราพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลามขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ศาสนสถานของกลุ่มชนวัฒนธรรมอิสลามในเมืองไทยที่เคยกำหนดเรียกชื่อศาสนสถานด้วยคำที่แตกต่างกัน เช่น สุเหร่า กะดี หรือกุฎี และมัสยิด จำต้องเปลี่ยนมาจดทะเบียนในนาม “มัสยิด” เพื่อมุ่งความเป็นนิติบุคคลที่กฎหมายหรือพระราชบัญญัติฉบับนั้น ๆ รับรองเป็นสำคัญ ซึ่งรวมถึงกะดีนอก หรือกุฎีปลายนา ต้องเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนเป็นทางการตามพระราชบัญญัติว่า มัสยิดดิลฟัลลาห์อันเป็นเหตุให้อัตลักษณ์วัฒนธรรมทางภาษาของแขกเจ้าเซ็นต้องเลือนหายไป 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ธีรนันท์ ช่วงพิชิต. (2551). พิธีเจ้าเซ็น (อาชูรอ) : อัตลักษณ์และการธำรงชาติพันธุ์ของมุสลิมนิกายชีอะห์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัสยิดดินฟัลลาห์ โทร. 08-1423-2457, เขตบางกอกใหญ่ โทร. 0-2457-0069