-
-
หมู่บ้านดอยช้างมีวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อ คือ กาแฟดอยช้าง จำหน่ายส่งออกไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันกาแฟดอยช้างได้ชื่อว่าเป็นการดำเนินงานในรูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
-
บ้านผาหมีได้นำเอาต้นทุนทัศนียภาพโดยรอบหมู่บ้านและวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ามาประยุกต์ร่วมกับนโยบายการกระจายความเจริญของภาครัฐ พัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นที่ชุมชนบ้านผาหมีเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ กระทั่งกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
-
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงผ้าทอด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
-
บ้านขาแหย่งพัฒนา ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางวัดพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นพระธาตุที่ชาวเชียงรายให้ความศรัทธา
-
ชุมชนไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว มีจุดเด่นในด้านการทำนากก และการทำเสื่อกก หรือสาดไตหย่า ซึ่งถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวไตหย่านับตั้งแต่ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
-
ชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ไทลื้อ และเผ่าลาหู่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง โบสถ์คริสต์หย่อมห้วยสา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสองพี่น้อง
-
หมู่บ้านนำร่องในโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนและพัฒนา จนได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 ประเภทแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม
-
ชุมชนบนสันดอยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยบ่อ หมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อแบบดั้งเดิม มีการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ อีกทั้งยังมีกิจกรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เช่น กางเต็นท์บนจุดชมวิวดอยบ่อทะเลหมอกยามเช้า การสอนทำอุปกรณ์ไม้ไผ่ เรียนรู้วิถีชุมชน และการเดินป่าไปยังน้ำตกโดยไกด์ชาวลาหู่
-
ความเป็นอยู่ของชุมชนพหุวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งชาติพันธุ์อาข่า ลาหู่ และจีนฮ่อ รวมไปถึงประเพณี วัฒนธรรมทางศาสนาที่หลากหลาย แม้ว่าวัฒนธรรมจะแตกต่างแต่ผู้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว
-
บ้านปางกิ่วเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยนที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม สะท้อนให้เห็นผ่านการรักษาขนบการประกอบพิธีกรรมศพและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน