ชุมชนแนะนำ
ดูทั้งหมด >>
หลวงพรต-ท่านเลี่ยม
กรุงเทพมหานครชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย

ตลาดน้อย
กรุงเทพมหานครความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ

บ้านเมืองบัว
ร้อยเอ็ดชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายหรือยุคโลหะตอนปลาย มีโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมร(กู่เมืองบัว) สิมหรืออุโบสถในวัฒนธรรมลาว มีความเชื่อเรื่องผีที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนและข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
บ้านแม่หมีใน
ลำปางบ้านแม่หมีใน ชนกลุ่มปกาเกอญอเผ่าสะกอ อพยพมาจากบ้านเมืองคอน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 175 ปี เป็นไปเพื่อแสวงหาที่ทำกินใหม่โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบสูงที่ราบหุบเขาริมห้วยแม่หมี
บ้านรักไทย
แม่ฮ่องสอนหมู่บ้านรักไทย ได้นำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนยูนนานมานำเสนอ ปรับเปลี่ยนรูปแบบชุมชน ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
บ้านนาตะกรุด
เพชรบูรณ์วัดโพธิ์ทอง เป็นทั้งศาสนสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สามารถแวะเที่ยวชมกำแพงประตูศิลปะขอม และเข้าสักการะหลวงพ่อหินเขียว ที่จะจัดให้มีพิธีสำคัญฉลองในวันวิสาขบูชาของทุก ๆ ปี
เกาะปันหยี
พังงาบ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
ตลาดร้อยปีสามชุก
สุพรรณบุรีชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอสามชุก และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
ข้อมูลชุมชนล่าสุด
ดูทั้งหมด >>ประเภทชุมชน
ดูทั้งหมด >>"หมู่บ้านพัฒนา ประปาน้ำใส กราบไหว้พระครูจันทร์ สวรรค์บึงพาด คลึงราชเมืองเก่า เชื้อสายลาวเวียงจันทน์"
ชุมชนมอญใจกลางเมืองเชียงใหม่ ที่ยังคงรักษาและสืบทอดประเพณีพิธีกรรมของกลุ่มเม็งหรือมอญ
ชุมชนเล็ก ๆ บนดอยสกาด หนึ่งในจุดหมายปลายทางของเหล่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนอำเภอปัว พักผ่อนนอนโฮมสเตย์บรรยากาศอบอุ่นเรียบง่ายตามวิถีชุมชน
ชุมชนแบ่งตามภูมิภาค
ดูทั้งหมด >>ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุกโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด
ใจกลางชุมชนบ้านไซเบอร์ มีต้นไทรขนาดใหญ่ อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน และเป็นแหล่งประกอบพิธีกรรมค้ำต้นไทรของชุมชนในชุมชนบ้านไซเบอร์มีแม่น้ำคอกควายที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 800 เมตร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบริเวณใกล้ ๆ กับชุมชนมีน้ำตกไซเบอร์ที่มีความงดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้น ๆ ของจังหวัดอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาท่องเที่ยวทุกปี แต่ปัจจุบันได้ปิดปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวน้ำตกไซเบอร์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าชม เนื่องจาก ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตในบริเวณน้ำตกเป็นประจำทุกปี ทางการจึงต้องปิดปรับปรุงจนกว่าจะเชื่อมั่นได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุด จึงจะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดดำเนินการต่อไปชุมชนแห่งนี้มีเจ้าวัดที่เป็นผู้นำแห่งจิตวิญญาณ ชื่อว่า “นายทองอินทร์ บูโกก” และมีพิธีกรรมไหว้เจดีย์เป็นประจำทุกปี
ชุมชนปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง บ้านแม่สาน จากคำบอกเล่านายรังแก้ว ค้างคีรี ว่าก่อนปี 2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน จึงพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีภัยไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กระทั้งนายอำเภอลี้ได้สอบถามเรื่องราวและประสานกับนายอำเภอศรีสัชนาลัยสมัยนั้นเพื่อนำชาวบ้านกลับมายังบ้านแม่สาน ราษฎรกะเหรี่ยงที่บ้านแม่สานนั้น นามสกุลเหมือนกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล “ ค้างคีรี ” สอบถามแล้วได้ความว่านายอำเภอผู้หนึ่งตั้งให้ทุกคนในคราวเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ชุมชนกะเหรี่ยง- สินค้าชุมชน Organic Riceberry ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอม นุ่ม ปลูกเองธรรมชาติปลอดสารพิษ 100%- กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก "เก่อญอ"- เครื่องจักรสานผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว กระด้ง ชะลอม เป็นต้น- ผ้าทอกี่เอวของชาติพันธ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ต.แม่สำ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น กว่า 30 ลาย ผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวกะเหรี่ยงได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอกะเหรี่ยง-สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแสดงพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเจิง (รำดาบ) , รำกระด้ง, กาซอ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าวและพิธีเกี่ยวกับผี การแต่งกาย การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกไปตามเพศ อายุและสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้ว
วัฒนธรรมลาวครั่ง การปลูกหม่อน-เลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอผ้าไหม มีพิพิธภัณฑ์ลาวครั่งที่จัดแสดงโบราณวัตถุ
ชุมชนบ้านห้วยหลวงมีเอกลักษณ์ทางเครื่องดนตรีที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันจากบรรพบุรุษ
บ้านห้วยบง ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่เนินเขาสูงที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่คู่กับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยบง แหล่งเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพชุมชน
ตำนานบ้านไผ่ล้อม ชุมชนเก่าแก่กับเรื่องเล่าท้องถิ่น และประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์