-
บ้านแม่เหียะ หย่อมบ้านหนึ่งในเขตบ้านป่าจี้ หมู่บ้านชาวลัวะที่มีประวัติศาสตร์เรื่องราวยาวนานมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ถิ่นกำเนิดตำนานปู่แสะย่าแสะ จุดเริ่มต้นแห่งการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงดง
-
บ้านกู่เต้า ชุมชนวัฒนธรรมแหล่งเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อารยธรรมชาวไทลื้อและชาวล้านนา ซึ่งถูกถ่ายทอดและบอกเล่าผ่านปูชนียสถานเจดีย์บรรจุอัฐิทรงน้ำเต้าคว่ำภายในวัดบ้านกปู่เต้า
-
บ้านแม่หมีใน ชนกลุ่มปกาเกอญอเผ่าสะกอ อพยพมาจากบ้านเมืองคอน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 175 ปี เป็นไปเพื่อแสวงหาที่ทำกินใหม่โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบสูงที่ราบหุบเขาริมห้วยแม่หมี
-
เมืองโบราณเวียงกุมกาม ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักล้านนา ซึ่งถูกสถาปนาโดยพญาเม็งราย มหากษัตริย์แห่งโยนกนคร แหล่งโบราณสถานวัดเก่าแก่กว่า 20 แห่ง ซึ่งได้บอกเล่าเรื่องราวอารยธรรมตำนานชาวล้านนาผ่านกำแพงเจดีย์ที่ร้อยเรียงผ่านอิฐแดงหลายแสนก้อน
-
ชุมชนจีนฮ่อบ้านสันติชล ได้นำเอาประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบจีนฮ่ออันเป็นรากฐานของชุมชน ทั้งการรักษาโรค บ้านดิน และการแปรรูปอาหารแบบจีนยูนนาน มานำเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนดึงดูกนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
-
หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณสันเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อเนื่องจากดอยอินทนนท์ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำทิม อยู่หมู่บ้านในความดูแลของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯ ที่ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชุมชน
-
บ้านศรีบุญยืน สถานที่ตั้งวัดศรีบุญยืน ภายในวัดแห่งนี้มีศาลาการเปรียญแต่งยอดจั่วช่อฟ้าปั้นลม และพระอุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบล้านนา ทั้งรูปทรง ตลอดจนหน้าบันวิหารที่แกะสลักรูปราศรีเกิดทั้ง 12 ราศรี สร้างสรรค์โดยฝีมือสล่าพื้นบ้าน
-
บ้านผาหมีได้นำเอาต้นทุนทัศนียภาพโดยรอบหมู่บ้านและวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ามาประยุกต์ร่วมกับนโยบายการกระจายความเจริญของภาครัฐ พัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นที่ชุมชนบ้านผาหมีเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ กระทั่งกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
-
“ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน” ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่เลื่องชื่อ ด้วยมีลวดลายและลักษณะการปั้นที่มีความแตกต่างจากเครื่องปั้นดินเผาชุมชนอื่น อันนำมาซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง
-
บ้านดงหลวงเป็นชุมชนที่ยังคงประเพณีดั้งเดิมที่สำคัญของคนพื้นเมืองไว้อย่างดี มีพระวิหารหลวงบ้านดงหลวงเป็นสถานที่สำคัญของชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก และมีการร่วมกันสืบสานเทศกาลประเพณีที่สำคัญตลอดสิบสองเดือน
-
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงผ้าทอด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
-
บ้านใหม่หมอกจ๋าม เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีการเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกันของผู้คนหลายชาติพันธุ์ หลากเชื้อชาติ ต่างภูมิลำเนา อีกทั้งยังมีผ้าทอพื้นเมืองไทใหญ่ ที่ได้รับขนานนามว่าเป็น 1 ใน 10 สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเชียงใหม่