ทั้งหมด ชุมชนเมือง/ชานเมือง ชุมชนชนบท ชุมชนชาติพันธุ์ เครือข่ายชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนอาคารสูง
แสดง 545 ถึง 552 จาก 705 ผลลัพธ์
ทั้งหมด ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ
แสดง 649 ถึง 656 จาก 705 ผลลัพธ์
  • เชียงใหม่

    ชุมชนเก่าแก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ บนพื้นที่ทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับการจัดการทรัพยากรและการปลูกกาแฟจนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน

    กาแฟ, ชาเมี่ยง, บ้านแม่ตอนหลวง, กาแฟเทพเสด็จ

    อ่านต่อ
  • เชียงใหม่

    ชุมชนบ้านสามสบบน ในพื้นที่บริเวณจุดบรรจบของลำห้วยใหญ่สามสาย เรียกว่า “สามสบ” พื้นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง (สะกอ) กับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ

    กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง, ชาวไทยภูเขา, บ้านสามสบบน

    อ่านต่อ
  • สุโขทัย

    บ้านสุเม่นเหนือ หย่อมบ้านห้วยระแห้ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่มีวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์

    ลีซู, บ้านสุเม่นเหนือ, บ้านห้วยระแห้

    อ่านต่อ
  • กาญจนบุรี

    ชุมชนพหุวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนบนพื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์กับการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่

    กลุ่มชาติพันธ์ุ, สังขละบุรี, บ้านนิเถะ

    อ่านต่อ
  • เชียงราย

    บ้านปางกิ่วเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยนที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม สะท้อนให้เห็นผ่านการรักษาขนบการประกอบพิธีกรรมศพและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    เมี่ยน, เชียงราย, ปางกิ่ว, วาวี

    อ่านต่อ
  • กาญจนบุรี

    ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปบ้านเสน่ห์พ่องบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับมรดกภูมิปัญญาตำรับยาสมุนไพรสะเนพ่อง และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ชุมชน

    สมุนไพร, กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง, บ้านเสน่ห์พ่อง

    อ่านต่อ
  • เชียงใหม่

    บ้านห้วยงู ชุมชนพื้นเมืองบนพื้นที่ราบกลางหุบเขาติดลำน้ำแม่งัด กับทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในการดำรงชีวิต และวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

    แม่ปั๋ง, พร้าว, บ้านห้วยงู

    อ่านต่อ
  • อุทัยธานี

    ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน 

    กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง, พิธีค้ำต้นไทร, เจ้าวัด, ป่าสงวนแห่งชาติ

    อ่านต่อ