-
หมู่บ้านบุ่งกะแทว เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ส่งผลให้ภายในชุมชนมีความหลากหลายทางศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรมและประเพณี
-
ชุมชนบ้านแหลมสัก เป็นพื้นที่ที่กลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกันทั้งจีนบาบ๋า มุสลิม และคนไทยพื้นถิ่น จึงได้รับการขนานนามว่า ดินแดนแห่งวัฒนธรรม 3 สาย
-
“บ้านแม่ปั๋ง” เป็นหมู่บ้านชนบทที่ตั้งอยู่บนเนินดอย มีวัดดอยแม่ปั๋ง หรือวัดหลวงปู่แหวน ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอพร้าว ภายในวัดเงียบสงบ มีพื้นที่พักผ่อนจิตใจเหมาะสำหรับการมาปฏิบัติธรรม
-
ชุมชนที่ให้ความสำคัญกับป่าไม้ จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรและช่วยกันอนุรักษ์ป่าน้ำจำ ซึ่งเป็นป่าชุมชนที่มีความสำคัญ
-
บ้านขาแหย่งพัฒนา ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางวัดพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นพระธาตุที่ชาวเชียงรายให้ความศรัทธา
-
ด้วยความสัมพันธ์ของผู้คนที่แนบชิด การไปมาหาสู่ระหว่างหมู่บ้านเป็นไปได้โดยง่าย เกิดการแลกปลี่ยนวัฒนธรรมพื้นบ้านระหว่างกัน จนกลายเป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์โส้ที่ยังคงรักษา สืบทอด วัฒนธรรม จากรุ่นสู่รุ่นผ่านการทำกิจกรรมตามประเพณี
-
บ้านคำชะอี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์การอพยพเข้ามาอยู่อาศัยของชาวผู้ไทดำเป็นเวลากว่า 100 ปี ชาวบ้านในชุมชนยังคงสืบทอดรักษาคติความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ มีการผสมผสานระหว่างหลักธรรมในศาสนาพุทธกับความเชื่อเรื่องผีดั้งเดิม อันถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวผู้ไท
-
-
ถนนสายเล็กที่มุ่งหน้าสู่หมู่บ้านเมืองลวง อบอวลด้วยวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ได้เริ่มฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจและรายได้สู่ชุมชน
-
บ้านเก็ตเป็นแหล่งทอและจำหน่ายผ้าทอไทลื้อที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ ยังมี "วัดภูเก็ต" เป็นสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน เดิมตั้งชื่อตามชื่อหมู่ของบ้านที่ชื่อว่าหมู่บ้านเก็ต แต่ด้วยวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งคนภาคเหนือเรียกว่า ดอยหรือภู จึงได้ตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งว่า "วัดภูเก็ต" หมายถึง วัดบ้านเก็ตที่อยู่บนภูหรือดอย
-
ชาวผู้ไทบ้านหนองห้างได้นำเอา "ไผ่" ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากในชุมชนมาสร้างสรรค์เป็น "เครื่องจักสานไม้ไผ่ลายขิด" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวผู้ไทบ้านหนองห้าง