ทั้งหมด ชุมชนเมือง/ชานเมือง ชุมชนชนบท ชุมชนชาติพันธุ์ เครือข่ายชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนอาคารสูง
แสดง 1 ถึง 8 จาก 125 ผลลัพธ์
ทั้งหมด ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ
ทั้งหมด กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี
แสดง 105 ถึง 112 จาก 125 ผลลัพธ์
  • อ่างทอง

    บ้านวัดตาล เป็นชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” จังหวัดอ่างทอง เป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ครอบคลุมหลากมิติ ทั้งด้านวิถีชีวิตด้านศาสนา การประกอบอาชีพ งานหัตถกรรม (งานปั้น งานไม้ งานเหล็ก) 

    ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ตุ๊กตาชาววัง, เที่ยวชุมชนยลวิถี

    อ่านต่อ
  • อุทัยธานี

    ใจกลางชุมชนบ้านอีซ่า มีต้นมะขามอยู่คู่หนึ่ง มีอายุราว ๆ 100 – 120 ปี ตั้งโดดเด่นอยู่กลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนพื้นที่จิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านอีซ่ามีลำคลองอีซ่าที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 700 เมตร เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนหล่อพ่อวิชา ลติยุโต ท่านเดินธุดงค์จากวัดแถว ๆ คุ้มสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาถึงบริเวณนี้ จึงได้เมตตาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน เพื่อชะลอความรุนแรงของสายน้ำในฤดูฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชนบ้านอีซ่ามีน้ำใช้ตลอดปี

    แกงขนุนอ่อนน้ำคลุกคลิก, ผ้าทอกี่เอว, ลำคลองอีซ่า, พิธีผูกเเขนด้ายเหลือง

    อ่านต่อ
  • อุทัยธานี

    ใจกลางชุมชนบ้านไซเบอร์ มีต้นไทรขนาดใหญ่ อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน และเป็นแหล่งประกอบพิธีกรรมค้ำต้นไทรของชุมชนในชุมชนบ้านไซเบอร์มีแม่น้ำคอกควายที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 800 เมตร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบริเวณใกล้ ๆ กับชุมชนมีน้ำตกไซเบอร์ที่มีความงดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้น ๆ ของจังหวัดอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาท่องเที่ยวทุกปี แต่ปัจจุบันได้ปิดปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวน้ำตกไซเบอร์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าชม เนื่องจาก ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตในบริเวณน้ำตกเป็นประจำทุกปี ทางการจึงต้องปิดปรับปรุงจนกว่าจะเชื่อมั่นได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุด จึงจะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดดำเนินการต่อไปชุมชนแห่งนี้มีเจ้าวัดที่เป็นผู้นำแห่งจิตวิญญาณ ชื่อว่า “นายทองอินทร์  บูโกก” และมีพิธีกรรมไหว้เจดีย์เป็นประจำทุกปี

    ผ้าทอกะเหรี่ยงดอยยาว, เจ้าวัด, น้ำตกไซเบอร์, ข้าวเหนียวหัวหงอก

    อ่านต่อ
  • สุโขทัย

    ชุมชนปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง บ้านแม่สาน จากคำบอกเล่านายรังแก้ว ค้างคีรี ว่าก่อนปี 2516 มีโจรปล้น ฆ่า ชาวบ้านแม่สาน จึงพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีภัยไปอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน กระทั้งนายอำเภอลี้ได้สอบถามเรื่องราวและประสานกับนายอำเภอศรีสัชนาลัยสมัยนั้นเพื่อนำชาวบ้านกลับมายังบ้านแม่สาน ราษฎรกะเหรี่ยงที่บ้านแม่สานนั้น นามสกุลเหมือนกันทั้งหมู่บ้าน คือ นามสกุล “ ค้างคีรี ” สอบถามแล้วได้ความว่านายอำเภอผู้หนึ่งตั้งให้ทุกคนในคราวเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ชุมชนกะเหรี่ยง- สินค้าชุมชน Organic Riceberry ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หอม นุ่ม ปลูกเองธรรมชาติปลอดสารพิษ 100%- กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก "เก่อญอ"- เครื่องจักรสานผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าวเหนียว กระด้ง ชะลอม เป็นต้น- ผ้าทอกี่เอวของชาติพันธ์ปกาเกอะญอ บ้านแม่สาน หมู่ที่ 6 ต.แม่สำ  อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น กว่า 30 ลาย ผ้าทอกะเหรี่ยงมีลักษณะเป็นลวดลายที่ได้จากการย้อมจากสีธรรมชาติซึ่งชาวกะเหรี่ยงได้มีกลวิธีและการสร้างลวดลายผ้าทอที่ผู้ทอจะยึดให้เป็นรูปแบบลวดลายดั้งเดิมที่เคยทอไว้ในอดีตลวดลายผ้าทอกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมได้ถูกถ่ายทอด มาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการสนทนากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอกะเหรี่ยง-สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแสดงพื้นบ้าน เช่น การฟ้อนเจิง (รำดาบ) , รำกระด้ง, กาซอ       ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี ความเชื่อ ของชาวปกาเกอะญอ             ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนกะเหรี่ยงในชุมชน ได้แก่ พิธีการเกิด พิธีงานศพ พิธีแต่งงาน ประเพณีซอเจดีย์ทราย ประเพณีหลังเกี่ยวข้าวและพิธีเกี่ยวกับผี การแต่งกาย         การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง การแต่งกายของปกาเกอะญอบ้านแม่สาน แบ่งออกไปตามเพศ อายุและสถานะทางสังคมได้แก่ เพศชาย เพศหญิง วัยเด็ก วัยรุ่น-วัยชรา และหญิงที่มีสถานะแต่งงานแล้ว

    ผ้าทอกี่เอว, ข้าวเบอะ, เขาผาช่อ, พิธีเลี้ยงผี

    อ่านต่อ
  • ชัยนาท

    วัฒนธรรมลาวครั่ง การปลูกหม่อน-เลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอผ้าไหม มีพิพิธภัณฑ์ลาวครั่งที่จัดแสดงโบราณวัตถุ

    ผ้าทอ, ลาวครั่ง, ผ้าไหม, ชุมชนชาติพันธุ์, กลุ่มชาติพันธ์ุ

    อ่านต่อ
  • สุโขทัย

    ชุมชนชาติพันธุ์ ที่มีวิถีการทอผ้า ที่ทอขึ้นเอง เป็นผ้าทอของชนเผ่า ปกาเกอะญอ ทอด้วยเครื่องมือที่ทำจากธรรมชาติ ทำขึ้นเองและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและเป็นเอกลักษณ์เด่นของชนชาวเผ่าปกาเกอะญอ

    กาแฟ, ผ้าทอกี่เอว, เลี้ยงผีบ้าน, ผ้าลายจก

    อ่านต่อ
  • สุโขทัย

    บ้านสุเม่นเหนือ หย่อมบ้านห้วยระแห้ ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่มีวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์

    ลีซู, บ้านสุเม่นเหนือ, บ้านห้วยระแห้

    อ่านต่อ
  • อุทัยธานี

    ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน 

    กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง, พิธีค้ำต้นไทร, เจ้าวัด, ป่าสงวนแห่งชาติ

    อ่านต่อ