ชุมชนแนะนำ
ดูทั้งหมด >>
หลวงพรต-ท่านเลี่ยม
กรุงเทพมหานครชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย

ตลาดน้อย
กรุงเทพมหานครความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ

บ้านเมืองบัว
ร้อยเอ็ดชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายหรือยุคโลหะตอนปลาย มีโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมร(กู่เมืองบัว) สิมหรืออุโบสถในวัฒนธรรมลาว มีความเชื่อเรื่องผีที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนและข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
บ้านแม่หมีใน
ลำปางบ้านแม่หมีใน ชนกลุ่มปกาเกอญอเผ่าสะกอ อพยพมาจากบ้านเมืองคอน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 175 ปี เป็นไปเพื่อแสวงหาที่ทำกินใหม่โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบสูงที่ราบหุบเขาริมห้วยแม่หมี
บ้านรักไทย
แม่ฮ่องสอนหมู่บ้านรักไทย ได้นำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีนยูนนานมานำเสนอ ปรับเปลี่ยนรูปแบบชุมชน ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
บ้านนาตะกรุด
เพชรบูรณ์วัดโพธิ์ทอง เป็นทั้งศาสนสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สามารถแวะเที่ยวชมกำแพงประตูศิลปะขอม และเข้าสักการะหลวงพ่อหินเขียว ที่จะจัดให้มีพิธีสำคัญฉลองในวันวิสาขบูชาของทุก ๆ ปี
เกาะปันหยี
พังงาบ้านกลางน้ำ ที่ตั้งเรียงรายอยู่กลางอ่าวพังงา ด้านหน้าของผาหินปูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยี่ยมเยือน
ตลาดร้อยปีสามชุก
สุพรรณบุรีชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอสามชุก และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
ข้อมูลชุมชนล่าสุด
ดูทั้งหมด >>ประเภทชุมชน
ดูทั้งหมด >>เป็นชุมชนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก ละว้า ขมุ รวมถึงกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก สามารถชมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีเทศกาลท่องเที่ยวไม้เมืองหนาว
1. มีลำคลอง ชื่อ “คลองหวาย”ไหลผ่านชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบ้านคลองหวาย2. วัดคลองหวาย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองหวาย เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านคลองหวาย3. มีต้นไทรขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี จำนวน 2 ต้น ขึ้นอยู่ข้างกัน ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ต้นปู่ไทร” และ“ต้นย่าไทร”
ใจกลางชุมชนบ้านอีซ่า มีต้นมะขามอยู่คู่หนึ่ง มีอายุราว ๆ 100 – 120 ปี ตั้งโดดเด่นอยู่กลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนพื้นที่จิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านอีซ่ามีลำคลองอีซ่าที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 700 เมตร เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนหล่อพ่อวิชา ลติยุโต ท่านเดินธุดงค์จากวัดแถว ๆ คุ้มสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาถึงบริเวณนี้ จึงได้เมตตาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน เพื่อชะลอความรุนแรงของสายน้ำในฤดูฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชนบ้านอีซ่ามีน้ำใช้ตลอดปี
ใจกลางชุมชนบ้านไซเบอร์ มีต้นไทรขนาดใหญ่ อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน และเป็นแหล่งประกอบพิธีกรรมค้ำต้นไทรของชุมชนในชุมชนบ้านไซเบอร์มีแม่น้ำคอกควายที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 800 เมตร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบริเวณใกล้ ๆ กับชุมชนมีน้ำตกไซเบอร์ที่มีความงดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้น ๆ ของจังหวัดอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาท่องเที่ยวทุกปี แต่ปัจจุบันได้ปิดปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวน้ำตกไซเบอร์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าชม เนื่องจาก ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตในบริเวณน้ำตกเป็นประจำทุกปี ทางการจึงต้องปิดปรับปรุงจนกว่าจะเชื่อมั่นได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุด จึงจะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดดำเนินการต่อไปชุมชนแห่งนี้มีเจ้าวัดที่เป็นผู้นำแห่งจิตวิญญาณ ชื่อว่า “นายทองอินทร์ บูโกก” และมีพิธีกรรมไหว้เจดีย์เป็นประจำทุกปี
ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
1. ใจกลางชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน 2. ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีลำห้วยคลองเคียนที่ไหลผ่านชุมชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน บริเวณลำห้วยคลองเคียนมีต้นยางน่อง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนำมาทำยาพิษในการล่าสัตว์ 3. มีลำห้วยคอกควายไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยคลองเคียน มีปริมาณน้ำที่ไหลเวียนมากกว่าและงดงามกว่าลำห้วยคลองเคียน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักของคนในชุมชน 4. ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ อยู่ลึกและห่างจากถนนสายหลัก สายบ้านไร่ – ลานสัก ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร ชุมชนแห่งนี้จึงรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์แบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ค่อนข้างดี
หน้าหมู่บ้านละหว้าใหม่คอกควายมีถนนทางหลวงชนบทที่ตัดผ่าน ซึ่งฝั่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับหมู่บ้าน เป็นอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ชื่อ “อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว” สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค การเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว มีความสวยงามและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในชุมชนหน้าหมู่บ้านมีศาลเจ้าเก่า ๆ ซึ่งบรรพบุรุษชาวละว้าได้สร้างไว้ ตามความเชื่อโบราณประเพณี เป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญกลางบ้านของชุมชนวัดแก้วศักดา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวละว้า คนในชุมชนไปทำบุญทุกวันธรรมสวนะ
ชุมชนแบ่งตามภูมิภาค
ดูทั้งหมด >>เป็นชุมชนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก ละว้า ขมุ รวมถึงกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก สามารถชมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีเทศกาลท่องเที่ยวไม้เมืองหนาว
1. มีลำคลอง ชื่อ “คลองหวาย”ไหลผ่านชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบ้านคลองหวาย2. วัดคลองหวาย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองหวาย เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านคลองหวาย3. มีต้นไทรขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี จำนวน 2 ต้น ขึ้นอยู่ข้างกัน ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ต้นปู่ไทร” และ“ต้นย่าไทร”
ใจกลางชุมชนบ้านอีซ่า มีต้นมะขามอยู่คู่หนึ่ง มีอายุราว ๆ 100 – 120 ปี ตั้งโดดเด่นอยู่กลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนพื้นที่จิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านอีซ่ามีลำคลองอีซ่าที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 700 เมตร เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนหล่อพ่อวิชา ลติยุโต ท่านเดินธุดงค์จากวัดแถว ๆ คุ้มสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาถึงบริเวณนี้ จึงได้เมตตาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน เพื่อชะลอความรุนแรงของสายน้ำในฤดูฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชนบ้านอีซ่ามีน้ำใช้ตลอดปี
ใจกลางชุมชนบ้านไซเบอร์ มีต้นไทรขนาดใหญ่ อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน และเป็นแหล่งประกอบพิธีกรรมค้ำต้นไทรของชุมชนในชุมชนบ้านไซเบอร์มีแม่น้ำคอกควายที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 800 เมตร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบริเวณใกล้ ๆ กับชุมชนมีน้ำตกไซเบอร์ที่มีความงดงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้น ๆ ของจังหวัดอุทัยธานี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาท่องเที่ยวทุกปี แต่ปัจจุบันได้ปิดปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวน้ำตกไซเบอร์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าชม เนื่องจาก ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเสียชีวิตในบริเวณน้ำตกเป็นประจำทุกปี ทางการจึงต้องปิดปรับปรุงจนกว่าจะเชื่อมั่นได้ว่ามีความปลอดภัยสูงสุด จึงจะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดดำเนินการต่อไปชุมชนแห่งนี้มีเจ้าวัดที่เป็นผู้นำแห่งจิตวิญญาณ ชื่อว่า “นายทองอินทร์ บูโกก” และมีพิธีกรรมไหว้เจดีย์เป็นประจำทุกปี
ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน
1. ใจกลางชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน 2. ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีลำห้วยคลองเคียนที่ไหลผ่านชุมชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน บริเวณลำห้วยคลองเคียนมีต้นยางน่อง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนำมาทำยาพิษในการล่าสัตว์ 3. มีลำห้วยคอกควายไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยคลองเคียน มีปริมาณน้ำที่ไหลเวียนมากกว่าและงดงามกว่าลำห้วยคลองเคียน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักของคนในชุมชน 4. ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ อยู่ลึกและห่างจากถนนสายหลัก สายบ้านไร่ – ลานสัก ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร ชุมชนแห่งนี้จึงรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์แบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ค่อนข้างดี
หน้าหมู่บ้านละหว้าใหม่คอกควายมีถนนทางหลวงชนบทที่ตัดผ่าน ซึ่งฝั่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับหมู่บ้าน เป็นอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ชื่อ “อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว” สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค การเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว มีความสวยงามและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในชุมชนหน้าหมู่บ้านมีศาลเจ้าเก่า ๆ ซึ่งบรรพบุรุษชาวละว้าได้สร้างไว้ ตามความเชื่อโบราณประเพณี เป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญกลางบ้านของชุมชนวัดแก้วศักดา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวละว้า คนในชุมชนไปทำบุญทุกวันธรรมสวนะ