บ้านส่องใต้
ชุมชนที่มีความเป็นมาก่อนการตั้งเมืองมหาสารคาม มีการเคลื่อนย้ายชุมชนจนสามารถหาทำเลที่ตั้งชุมชนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนพื้นที่ปัจจุบันสามารถรองรับการขยายตัวของเมืองมหาสารคาม
บ้านหนองผือ
หนองผือคำ ดินน้ำใส ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ชาวบ้านสามัคคี มากมีวัฒนธรรม นำไปสู่แหล่งท่องเที่ยว
บ้านนกออก
ภายในวัดบ้านนกออก มีพระอุโบสถหรือสิม อายุกว่า 200 ปี และหอไตรกลางน้ำ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์
บ้านแม่อุมพาย
ชาวปกาเกอะญอ บ้านแม่อุมพาย มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับการทำไร่หมุนเวียน โดยชาวบ้านจะทำไร่ร่วมกันในที่ดินผืนใหญ่ผืนเดียวหมุนเวียนในระยะ 7 ปี โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการทำไร่หมุนเวียนอย่างเป็นระบบ ทำให้ดิน น้ำ ป่าไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
บ้านน้อมเกล้า
ชาวผู้ไทบ้านน้อมเกล้ามีพิธีกรรมการรักษาโรคประจำกลุ่มชาติพันธุ์ คือ “พิธีกรรมเหยา” ซึ่งถือเป็นสัญญะทางมโนทัศน์ที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวผู้ไท
บ้านคูสว่าง
ชุมชนริมน้ำมูล ชุมชนที่มีทุนทางสังคมเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ หาสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ สู่อาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง