-
ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนไทย โดยที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนเองควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนในเชิงตั้งรับกับกระแสโลกาภิวัตน์
-
-
-
-
เป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงโพล่งที่มีการทอผ้าลายจกกี่เอวที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ ของชุมชนลุ่มน้ำแม่ขนาด
-
บ้านไล่โว่ - สาละวะ เป็นชุมชนชาติพันธุ์โผล่วที่มีวิถีวัฒนธรรมที่โดดเด่นในชุมชนมีการประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตทำให้มีความเชื่อเรื่องการอยู่ร่วมกับผืนป่าและยังมีวัฒนธรรมที่ส่ต่อมายังลูกหลาน เช่นประเพณีฟาดข้าว ประเพณีบุญข้าวใหม่ ประเพณีผูกข้อมือ ฯลฯ
-
เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา มีประชากรประมาณ 1,633 คน มีหลังคาเรือน 324 หลังคาเรือน มีโรงเรียน 1 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
-
ชุมชนมีเขาหินผาตั้งอยู่สง่า มีวัด โรงเรียน ทุ่งนา ป่าไผ่หนาม การทำเหมืองแร่ มีการเลี้ยงสัตว์โค กระบือ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม
-
1. มีลำคลอง ชื่อ “คลองหวาย”ไหลผ่านชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบ้านคลองหวาย2. วัดคลองหวาย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองหวาย เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านคลองหวาย3. มีต้นไทรขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี จำนวน 2 ต้น ขึ้นอยู่ข้างกัน ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ต้นปู่ไทร” และ“ต้นย่าไทร”