
บ้านไล่โว่ - สาละวะ เป็นชุมชนชาติพันธุ์โผล่วที่มีวิถีวัฒนธรรมที่โดดเด่นในชุมชนมีการประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตทำให้มีความเชื่อเรื่องการอยู่ร่วมกับผืนป่าและยังมีวัฒนธรรมที่ส่ต่อมายังลูกหลาน เช่นประเพณีฟาดข้าว ประเพณีบุญข้าวใหม่ ประเพณีผูกข้อมือ ฯลฯ
หมู่บ้านไล่โว่ หมู่ที่ 4 ขึ้นกับตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เดิมเมืองสังขละบุรี ตั้งอยู่ ณ บ้านเสน่ห์พ่อง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีพระสุวรรณคีรีเป็นเจ้าเมืองสืบทอดตำแหน่งกันมา 5 ท่าน จนกระทั่งมีการปรับปรุงระเบียบการปกครองท้องถิ่นสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนฐานะเมืองสังขละบุรีเป็นอำเภอ พระศรีสุวรรณคีรีที่ 5 (ทะเจียงโปรย เสตะพันธ์) รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นนายอำเภอคนแรกของสังขละบุรี แต่เดิมการปกครองแบ่งออกเป็น 2 ตำบล โดยถือลำน้ำกษัตริย์เป็นเส้นทางแบ่งการปกครอง คือ ตำบลไล่โว่ และตำบลลังกา
ตำบลไล่โว่ อยู่ตอนใต้ของลำน้ำกษัตริย์ มีกำนันปกครองติดต่อกันมาจนปัจจุบัน 10 คน คนปัจจุบัน คือ นายคมสันต์ พิทักษ์ชาตคีรี กำนันตำบลไล่โว่ หมู่ที่ 4 ตำบลไล่โว่
บ้านไล่โว่เป็นหมู่บ้านที่ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงตั้งบ้านเรือนมากมากว่า 160 ปี รวม พ.ศ. 2383 โดยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ ไล่โว่” มีความหมายถึง “หินแดง” หรือ “หินผา” ตามความโดดเด่นของหน้าผาขขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้าน จุดเด่นของบ้านไล่โว่ คือความสวยงามโดดเด่นของหน้าผาขนาดใหญ่ที่ตระหง่านใกล้หมู่บ้านสวยงามมากเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวนิยมไพร ป่าไม้รอบหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์จนได้รับประกาศเป็นมรดกโลก วิถีชีวิตของชาวบ้านยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
บ้านไล่โว่ - สาละวะ เป็นชุมชนชาติพันธุ์โผล่วที่มีวิถีวัฒนธรรมที่โดดเด่นในชุมชนมีการประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตทำให้มีความเชื่อเรื่องการอยู่ร่วมกับผืนป่าและยังมีวัฒนธรรมที่ส่ต่อมายังลูกหลาน เช่นประเพณีฟาดข้าว ประเพณีบุญข้าวใหม่ ประเพณีผูกข้อมือ ฯลฯ
บ้านไล่โว่-สาละวะ ก่อนที่จะมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชน ในอดีตชาวกะเหรี่ยงจะย้ายที่อยู่ที่ทำกินคราวละปี ก็จะอพยพย้ายที่อยู่หาที่ทำกินใหม่ เดิมหมู่บ้านไล่โว่-สาละวะ อยู่หมู่บ้าน หมี่เซิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากป้านทิไล่ป้าประมาณ 8 กิโลเมตร หลังจากนั้นชาวบ้านที่อยู่หมี่เซิ่งได้ย้ายอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำกินที่หมู่บ้านไล่โว่-สาละวะ ในปี พ.ศ.2520
แรกเริ่มตั้งหมู่บ้าน มีผู้นำชุมชน ชื่อ ผู้แพร พิทักษ์ชาตคีรี เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีบ้านเรือนตั้งอยู่กระจายห่างๆ กัน แต่บ้านสาละวะ จะมีบ้านอยู่ 7 หลังคาเรือน ต่อมาได้มีบ้านเรือนเพิ่มขึ้น มีการประกอบพิธีกรรมทางวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ และไม่ได้ย้ายอพยพโยกย้ายหมู่บ้านดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา จึงทำให้หมู่บ้านไล่โว่เป็นหมู่บ้านที่มีสองชุมชนคือบ้านไล่โว่และบ้านสาละวะ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ควบคู่ไปกับภารกิจการอนุรักษ์ป่าไม้ พืชหลักที่ปลูกมาก ได้แก่ ข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง พริกไทย กล้วย หมาก มะม่วงหิมพานต์ พืชผักต่าง ๆ มะพร้าว และเลี้ยงวัว ควาย และปลา ไว้กินในครัวเรือน
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบและภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านหมู่บ้าน 2 สาย คือ ห้วยสาละวะ และห้วยไต่กรุ่ง และมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมอีก 2 สาย ได้แก่ ห้วยกระต่า และห้วยทิพุกรุ่ง ชาวบ้านมีอาชพเกษตรกรรม เช่นการทำไร่หมุนเวียน การทำสวน การทำนาปี
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติชนิดต่างๆ ของชุมชนสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้ รวมถึงวิธีการจัดการและประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องจักรสาน ทำเกษตรกรรม มีการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งจะปลูกพืชต่างๆในไร่ข้าวและเก็บผลผลิตมารับประทานตามฤดูกาล บางส่วนสามารถเก็บเกี่ยวไว้รับประทานในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย การประกอบอาชีพแบบผสมผสาน เช่นการปลูกกาแฟ ทุเรียน หมาก มะพร้าว ไว้เป็นรายได้ในครัวเรือน
จำนวนประชากร / ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านไล่โว่ – สาละวะ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและเป็นเครือญาติกัน มีการแต่งงานในหมู่บ้านและสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้น ไม่ออกไปทำงานนอกสถานที่ จึงทำให้ตำบลไล่โว่ ส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีจำนวนทั้งหมด 136 ครัวเรือน ประชากร 657 คน แบ่งเป็นชาย 363 คน หญิง 294 คน
โพล่งอาชีพหลัก ทำการเกษตรแบบไร่เชิงเดี่ยวและไร่หมุนเวียน มีการทำนาปีและปลูกพืชเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการออกไปรับจ้างทำงานในเมืองและในชุมชน
การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง ผ่านร้านของชำในชุมชนที่มีเจ้าของเป็นคนในชุมชน
การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจท่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น กาแฟ หมาก ขมิ้น ผัก เป็นต้น
การออกไปทำงานนอกชุมชน ส่วนใหญ่เป็นคนที่เรียนจบและออกไปหางานทำข้างนอก
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มครอบครัว ภายในชุมชนแบ่งเป็น 6 หมู่บ้าน
โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีกำนันเป็นผู้นำหมู่บ้านสาละวะ มีผ้ช่วยและ อบต. เป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
การรวมกลุ่มส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน การช่วยงานส่วนรวมนอกจากนี้ยังีการรวมกลุ่มเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เช่น กลุ่มปลูกผัก กลุ่มผู้ปลูกกาแฟ เป็นต้น
ในอดีต ช่วงว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม สมาชิกบางคนจะทอผ้า หรือสานอุปกรณ์ต่างๆ สำหรบใช้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาส่งเสริมทำให้เกิดอาชีพที่หลากหลาย เช่นกลุ่มทอผ้า กลุ่มผัก และกลุ่มผู้ทำสวน
เมื่อถึงกิจกรรมทำบุญตามฤดูกาลก็จะร่วมกันจัดงานตามประเพณี ประเพณีฟาดข้าว กินข้าวใหม่ หรือประเพณีผูกข้อมือเดือนเก้า
นายผู้แพร พิทักษ์ชาตคีรี เป็นชาวกะเหรี่ยงโผล่ว (โปว์) เป็นปราชญ์ชุมชนที่บุกเบิกในการตั้งหมู่บ้านสาละวะ และเป็นผู้นำที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ชีวิตที่เป็นแบบอย่างให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตามหลายด้าน เช่น ด้านศาสนา เป็นผู้สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ชาวบ้านให้การนับถือทั้งตำบลไล่โว่
หมู่บ้านไล่โว่-สาละวะ มีพื้นที่เหมาะแก่การทำไร่ข้าว ทำนา และทำสวนแบบผสมผสานสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ
หมู่บ้านไล่โว่-สาละวะ เป็นหมู่บ้านที่ได้รบการพัฒนาจากโครงการหลวงภายใต้มูลนิธิภูบดินทร์ ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเป็นภาษาพื้นบ้าน คือภาษากะเหรี่ยงเป็นหลัก ส่วนวัยรุ่นและเด็กที่ออกไปเรียนตามสถานศึกษากลับมาใช้ภาษาไทยบ้าง แต่ก็ยังสามารถสื่อสารภาษาแม่ได้เกือบทุกครัวเรือน และยังมีภาษาเขียน อ่าน เป็นภาษากะเหรี่ยงที่ใช้ในการสื่อสารมาโดยตลอด
หมู่บ้านไล่โว่-สาละวะ ได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมจากการพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมร่วมสมัย ทำให้มีการพัฒนาอาชีพตามโครงการภูบดินทร์ แต่ก็ยังมีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูด ภาษาเขียน และพัฒนาอาชีพตามยุคสมัย
หมู่บ้านไล่โว่-สาละวะ เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพจากโครงการหลวงภายใต้มูลนิธิภูบดินทร์ ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าไปร่วมพัฒนาให้ชาวบ้านมีอาชีพ มีรายได้ พึ่งตนเองได้ แต่ยังประกอบอาชีพแบบดั้งเดิมทำไร่ข้าวและทำนาปีตามฤดูกาล
- คำบอกเล่ามุขปาฐะของผู้อาวุโสที่เล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่นมาถึงลูกหลานปัจจุบัน
- แนวคิดการวิจัยชุมชนตำบลไล่โว่
- มหาวิทยาลัยราชภัฎจังหวัดกาญจนบุรี