-
บ้านแม่หมีใน ชนกลุ่มปกาเกอญอเผ่าสะกอ อพยพมาจากบ้านเมืองคอน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 175 ปี เป็นไปเพื่อแสวงหาที่ทำกินใหม่โดยเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบสูงที่ราบหุบเขาริมห้วยแม่หมี
-
พื้นที่ชุมชนรวมตัวของชนชาติชาวลาวครั่งแสดงผ่านศิลปกรรม ประติมากรรม และศาสนสถาน
-
บ้านขี้เหล็กใหญ่เป็น "บ้านเจ้าบ้านนาย" เป็นหมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี อันดีงามไว้มากมาย อีกทั้งผู้คนในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีระเบียบวินัยในการทำงานและใช้ชีวิต
-
ชุมชนจีนฮ่อบ้านสันติชล ได้นำเอาประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบจีนฮ่ออันเป็นรากฐานของชุมชน ทั้งการรักษาโรค บ้านดิน และการแปรรูปอาหารแบบจีนยูนนาน มานำเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนดึงดูกนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม
-
ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเนื่องจากอยู่ใกล้กับภูเขา มีภูผา จำนวนมาก ปัจจุบันยังเป็นแหล่งผลิตผ้าทอที่มีชื่อเสียง
-
‘กุฎีเจริญพาศน์’ นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแปลกตาตามรูปแบบอาคารขนมขิงที่ผสมผสานไปกับของศาสนาอิสลามที่เชื่อมสายสัมพันธ์ของชุมชนและศาสนา
-
หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณสันเขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยต่อเนื่องจากดอยอินทนนท์ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำทิม อยู่หมู่บ้านในความดูแลของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงฯ ที่ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชุมชน
-
บ้านศรีบุญยืน สถานที่ตั้งวัดศรีบุญยืน ภายในวัดแห่งนี้มีศาลาการเปรียญแต่งยอดจั่วช่อฟ้าปั้นลม และพระอุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบล้านนา ทั้งรูปทรง ตลอดจนหน้าบันวิหารที่แกะสลักรูปราศรีเกิดทั้ง 12 ราศรี สร้างสรรค์โดยฝีมือสล่าพื้นบ้าน
-
หมู่บ้านเพชรดำเป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวลีซอมาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ที่ตั้งของทุ่งกังหันลมเขาค้อ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดเพชรบูรณ์
-
บ้านผาหมีได้นำเอาต้นทุนทัศนียภาพโดยรอบหมู่บ้านและวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่ามาประยุกต์ร่วมกับนโยบายการกระจายความเจริญของภาครัฐ พัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นที่ชุมชนบ้านผาหมีเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ กระทั่งกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
-
“ตำนานน้ำต้น คนปั้นดิน” ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่เลื่องชื่อ ด้วยมีลวดลายและลักษณะการปั้นที่มีความแตกต่างจากเครื่องปั้นดินเผาชุมชนอื่น อันนำมาซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเหมืองกุง