-
ป่าไม้สมบูรณ์ เป็นแหล่งหาเห็ดโคน มีวัดบ่อเก่าบน เป็นแหล่งรวมศรัทธา และประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา วัดสงบร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีศาลากลางน้ำและโบสถ์ที่สวยงาม
-
บ้านน้ำแคะ ชุมชนชาวลัวะที่ตั้งอยู่อย่างสันโดษบนภูเขาสูง หมู่บ้านที่ยังคงรักษา อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมดั้งเดิมของเหล่าบรรพชนชาวลัวะเป็นพื้นฐานและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
-
ใจกลางชุมชนมีต้นมะขามยักษ์อายุกว่าร้อยปี เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองแห้ง (ปัจจุบันนี้ต้นไม้นี้ตายไปแล้ว)ในชุมชนบ้านคลองแห้งมีต้นไทรขนาดใหญ่อยู่ท้ายหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นรุกขมรดกทางวัฒนธรรม เป็นศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของชุมชน เป็นต้นไม้ที่คนในชุมชนใช้ในการประกอบพิธีค้ำต้นไทรประจำปีมีแม่น้ำคลองแห้งเป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้ และเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความสำคัญต่อการดำรงวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองแห้งมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ที่ชาวกะเหรี่ยงบ้านคลองแห้งใช้บริการด้านสุขภาพมีโรงเรียนบ้านคลองแห้งวิทยาเป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลาน ชาวชาวกะเหรี่ยง ทำให้ลูกหลานไม่ต้องไปเรียนห่างไกลบ้านวัดคลองแห้งวัฒนาราม เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงโปว์ เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน
-
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า-ไทลื้อจากหลายพื้นที่เข้ามารวมตัวกันเพื่อแสวงหาพื้นที่ทำกินและพัฒนาคุณภาพชีวิต สู่สังคมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางดินแดนธรรมชาติในพื้นที่ชายแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง
-
การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ขยับขยายพื้นที่เป็นชุมชนกลุ่มเล็ก ๆ กับสังคมพหุวัฒนธรรมและกลุ่มทางความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์
-
แม่แดดน้อย ชุมชนปกาเกอะญอที่ยืนหยัดหาทางสู้ สร้างทางรอดกับระบบเศรษฐกิจครอบครัวจนเกิดการรวมตัวกลุ่มสตรีด้อยโอกาสก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แดดน้อยและร่วมกับหมู่บ้านจาก 3 ตำบลในอำเภอกัลยาณิวัฒนา พัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าจากภูมิปัญญา เชื่อมโยงสายใยแห่งจิตวิญญาณภายใต้ชื่อแบรนด์ "เดปอถู่" แบรนด์สินค้าที่เป็นมากกว่าแค่ผลิตภัณฑ์ หากแต่เป็นตัวแทนเรื่องราวชีวิตของสตรีผู้ด้อยโอกาสชาวปกาเกอะญอ
-
-
บ้านขุนอมลองกับประวัติศาสตร์การย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ เพื่อแสวงหาที่ทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อกับพัฒนาการชุมชน
-
คริสตจักรบ้านขุนป๋วย เป็นศาสนสถานประจำชุมชน ถือเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เห็นได้จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมกับโบสถ์ที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูแลซึ่งกันและกัน ผ่านพิธีการนมัสการ เกิดการทำกิจกรรมนอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา การรวมกลุ่มทั้งกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชนและเด็กมีการพัฒนาด้านบุคคล การจัดเข้าค่ายเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาชุมชน ขณะเดียวกันในทุกวันอาทิตย์ของการเข้าโบสถ์ ทุกคนจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายชุดชนเผ่ากะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ต่อไป
-
หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวด ชุมชนชาวลัวะที่ยังคงมีการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมดังเช่นการ "ตีพิ" ประเพณีการเรียกขวัญข้าวออกจากไร่เพื่อนำไปเก็บยังยุ้งฉาง ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของการทำเกษตรกรรมที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชาวลัวะบ้านน้ำมีดมาอย่างยาวนาน
-
บ้านโป่งคำ ชุมชนเก่าแก่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวพวนที่อพยพย้ายถิ่นฐานมากจากประเทศลาว การเข้ามาของผู้คน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
-
บ้านมืดหลอง ชุมชนชาวลัวะเก่าแก่ในหุบเขาสูงทางทิศตะวันตกของอำเภอแม่แจ่มกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายที่ดำรงอยู่ท่ามกลางการห้อมล้อมด้วยภูเขาสูงและทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์