-
เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา มีประชากรประมาณ 1,633 คน มีหลังคาเรือน 324 หลังคาเรือน มีโรงเรียน 1 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง
-
ซึมซับวัฒนธรรมปกาเกอะญอ สัมผัสความงามธรรมชาติและกลิ่นไอแห่งการผสมผสานของวิถีชีวิตดั้งเดิมและพลวัตทางสังคมที่ไหลบ่าในชุมชนบ้านแม่อูคอหลวง
-
ชุมชนมีเขาหินผาตั้งอยู่สง่า มีวัด โรงเรียน ทุ่งนา ป่าไผ่หนาม การทำเหมืองแร่ มีการเลี้ยงสัตว์โค กระบือ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม
-
1. ใจกลางชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี ตั้งโดดเด่นสง่าอยู่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน 2. ในชุมชนบ้านคลองเคียนแห่งนี้ มีลำห้วยคลองเคียนที่ไหลผ่านชุมชน เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน เป็นแหล่งรวมอารยธรรมชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน บริเวณลำห้วยคลองเคียนมีต้นยางน่อง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านนำมาทำยาพิษในการล่าสัตว์ 3. มีลำห้วยคอกควายไหลผ่านชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียน ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าลำห้วยคลองเคียน มีปริมาณน้ำที่ไหลเวียนมากกว่าและงดงามกว่าลำห้วยคลองเคียน เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางการเกษตร เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคหลักของคนในชุมชน 4. ชุมชนกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองเคียนแห่งนี้ อยู่ลึกและห่างจากถนนสายหลัก สายบ้านไร่ – ลานสัก ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร ชุมชนแห่งนี้จึงรักษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงโปว์แบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ค่อนข้างดี
-
หน้าหมู่บ้านละหว้าใหม่คอกควายมีถนนทางหลวงชนบทที่ตัดผ่าน ซึ่งฝั่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับหมู่บ้าน เป็นอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่ชื่อ “อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว” สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค การเกษตร ประมงและการท่องเที่ยว มีความสวยงามและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในชุมชนหน้าหมู่บ้านมีศาลเจ้าเก่า ๆ ซึ่งบรรพบุรุษชาวละว้าได้สร้างไว้ ตามความเชื่อโบราณประเพณี เป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญกลางบ้านของชุมชนวัดแก้วศักดา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวละว้า คนในชุมชนไปทำบุญทุกวันธรรมสวนะ
-
“งดงามวิหารไทลื้อ ลือชื่อผ้าทอสีธรรมชาติ น้ำใสสะอาดวังปาล ผืนป่าเขียวขจี ยึดวิถีวัฒนธรรมไทลือ” ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดน่าน กับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณี และการปรับตัวให้เข้ากับสังคมในโลกยุคปัจจุบัน
-
-
วิถีของชาวไทใหญ่ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศพม่า ประเพณี 12 เดือน พระพุทธรูปแบบล้านนา
-
ใจกลางชุมชนบ้านอีซ่า มีต้นมะขามอยู่คู่หนึ่ง มีอายุราว ๆ 100 – 120 ปี ตั้งโดดเด่นอยู่กลางหมู่บ้าน เป็นเสมือนพื้นที่จิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านอีซ่ามีลำคลองอีซ่าที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 700 เมตร เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนหล่อพ่อวิชา ลติยุโต ท่านเดินธุดงค์จากวัดแถว ๆ คุ้มสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท มาถึงบริเวณนี้ จึงได้เมตตาสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชน เพื่อชะลอความรุนแรงของสายน้ำในฤดูฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้ชุมชนบ้านอีซ่ามีน้ำใช้ตลอดปี
-
เป็นชุมชนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก ละว้า ขมุ รวมถึงกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลัก สามารถชมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีเทศกาลท่องเที่ยวไม้เมืองหนาว
-
ชุมชนไทยใหญ่บ้านปางหมูเป็นชุมชนไทยใหญ่แห่งแรกก่อนการสร้างเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่สมาชิกในชุมชนยังรักษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้คงอยู่คู่กับชุมชน อาทิ วัดปางหมู พระธาตุปางหมู หอเจ้าเมิง เสาใจบ้าน รวมถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นชาวไทยใหญ่