Advance search

การนับถือบูชาทวดหัวเขาแดง และการทำประมงภายในพื้นที่ชุมชน และมีโบราณสถานที่สำคัญ

หัวเขา
สิงหนคร
สงขลา
เทศบาลตำบลหัวเขา โทร. 0-3547-0047
รมิตา วุฒิ
14 ก.พ. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
16 เม.ย. 2024
ปวินนา เพ็ชรล้วน
16 เม.ย. 2024
หัวเขาแดง

เมื่อมองเนินเขาบริเวณที่ตั้งของชุมชนมาจากที่อื่นจะเห็นดินสีแดง จึงเรียกภูเขาบริเวณนี้ว่า หัวเขาแดง


การนับถือบูชาทวดหัวเขาแดง และการทำประมงภายในพื้นที่ชุมชน และมีโบราณสถานที่สำคัญ

หัวเขา
สิงหนคร
สงขลา
90280
7.222678154314991
100.57478736888677
เทศบาลตำบลหัวเขา

ตามหลักฐานที่ปรากฏในพงศาวดาร เมืองสงขลาหัวเขาแดงตั้งอยู่ตรงปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ก่อตั้งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่น่าจะเกิดในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฏชื่อ "เมืองสงขลา" ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ.1893 เมืองสงขลามีฐานะเป็นเมืองประเทศราช อีกทั้งเมืองสงขลา ยังปรากฏอยู่ในเอกสารชาวต่างชาติ พวกพ่อค้าและนักเดินเรือ สงขลามีลักษณะเป็นเมืองท่า ที่มีนามว่า "ซิงกอร่า" คนพื้นเมืองเรียก "สิงขร" ที่แปลว่า "ภูเขา" สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลาในอดีต ที่บางส่วนตั้งอยู่บนภูเขา พื้นที่บริเวณหัวเขาแดงมีลักษณะเป็นรูปคล้ายจระเข้ เป็นที่หมายของนักเดินทางในอดีต หัวเขาแดงตั้งอยู่ตรงปลายแหลมสุดของแหลมทรายสทิงพระ มีลักษณะทางกายภาพเป็นหินโคลนที่มีสีแดง จึงเรียกว่า "เขาแดง" และคำว่า "เขาแดง" ก็ยังปรากฏอยู่ในแผนที่เก่าสมัยอยุธยาอีกด้วย

ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาได้เริ่มต้นอย่างแท้จริง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-24 โดยมีศูนย์กลางการปกครอง หรือ สถานที่ตั้งเมือง 3 แห่งโดยสามารถลำดับจากพัฒนาการ ได้แก่มืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน และเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

ในส่วนของเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง สันนิษฐานว่าเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดงน่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 เพราะเจดีย์บนยอดเขาน้อยที่ปรากฏอยู่นั้น มีอายุไม่น้อยกว่าพุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยปรากฏชื่อในเอกสารต่าง ๆ ของพ่อค้าชาวตะวันตกว่า Singora บ้าง Singor บ้างซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่า สิงขร” หรือ “สิงหลา” ที่แปลว่าจอม ที่สูงสุดยอดเขา และเป็นความหมายที่สอดคล้องกับที่ตั้งเมืองสงขลาที่มีภูเขามากมาย เช่น เขาแดง เขาตังกวน เขาน้อย เกาะหนูและเกาะแมว เมืองสงขลาฝั่งเขาแดงอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองชาวมุสลิมที่หนีภยจากโจรสลัดที่คุกคามอย่างหนัก โดยปรากฏในเอกสารของชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายไม่ว่าจะเป็นจดหมายของนายแมร์ เทนเฮาต์แมน พ่อค้าชาวดัตซ์ เรียกเจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้นว่า “โมกุล” ในขณะที่บันทึกของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เรียกชื่อเจ้าเมืองสงขลาว่า “โมกอล” ซึ่งในช่วงเวลานั้นตรงกับสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ราว พ.ศ. 2153-2154

คุณสุภัทร สุคนธาภิรมณ์ ณ พัทลุง ซึ่งเป็นเชื้อสายโดยตรงของสุลต่านสุไลมานได้เล่าว่าประมาณ พ.ศ. 2145 ดาโต๊ะโมกอล ซึ่งเคยปกครองเมืองสาเลย์ ที่เป็นเมืองลูกของจาการ์ตาบนเกาะชวา หรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน ได้อพยพครอบครัวและบริวารหนีภัยจากการเล่าเมืองขึ้นลงเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่บริเวณบ้านหัวเขาแดงแขวงเมืองสงขลา เข้าใจว่าตระกูลนี้คงเคยเป็นตระกูลที่ปกครองบ้านเมืองมาก่อน เมื่อเจอทำเลที่เหมาะสมจึงนำบริวารขึ้นบกสร้างบ้านเรือน และทำท่าจอดเรือขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับเรือสำเภาและเรือกำปั่นที่เดินทางมา ทำการค้าทางทะเลจนเมืองหัวเขาแดงในสมัยนั้นกลายเป็นเมืองท่าระหว่างประเทศ โด่งดังไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระเอกาทศรถจีงได้ทรงมีพระราชโองการต่างตั้งให้ดาโต๊ะโมกอลเป็นข้าหลวงใหญ่ของพระเจ้ากรุงสยาม ประจำเมืองพัทลุง อยู่ที่หัวเขาแดง แขวงเมืองสงขลา

ชุมชนหัวเขาแดงตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเมืองสงขลา อยู่ภายใต้เขตการปกครองตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร ชุมชนหัวเขาแดงมีระยะห่างจากตัวเมืองสงขลาประมาณ 500 เมตร โดยมีทะเลสาบสงขลาเป็นตัว แบ่งกั้น ภูมิประเทศโดยรวมเป็นภูเขาสูงชันทอดตัวเป็นแนวยาวเหนือใต้ ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นที่ตั้งของ ท่าเรือขนส่งสินค้า สภาพสังคมเป็นชุมชนชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธ การตั้งถิ่นฐานกระจายตามหมู่บ้าน มีการประกอบอาชีพเป็นชาวประมงและรับจ้างทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ การเดินทางเข้าถึงชุมชนสามารถเดินทางจากถนน ทาง หลวงแผ่นดินหมายเลข 408 ผ่านพื้นที่ตัวเมืองสงขลา และสะพานติณสูลานนท์ อีกเส้นทางคือจากแพขนานยนต์ข้ามทะเลสาบสงขลา

ผู้คนที่เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ในเมืองสงขลาหัวเขาแดง ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของเจ้าเมืองมุสลิม ที่เข้ามาสร้างบ้านแปงเมืองตั้งแต่สมัยดาโต๊ะโมกุล ถึงปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 1,715 ครัวเรือน ประกอบด้วย หมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 8 หมู่บ้าน มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 80

ผู้คนในชุมชนเขาแดงสาวนใหญ่มีการประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ ประมงพื้นบ้านในตำบลหัวเขา แดงมีการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จากรุ่นพ่อแม่มาสู่รุ่นลูกอย่างต่อเนื่อง มีองค์ความรู้และภูมิปัญญาในการ ทำประมงสั่งสมมาและส่งต่อ โดยเฉพาะการสังเกตและเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเพื่อการเข้าถึงและออก จับสัตว์น้ำ เช่น การเรียนรู้ชนิดของลม การไหลของน้ำ และน้ำขึ้น-น้ำลง นอกจากนี้ยังมีความรู้เกี่ยวกับลม ชาวประมงจะต้องรู้จักลมทุกชนิดทุกช่วงฤดูกาล

ผู้คนในชุมชนเขาแดงมีความเชื่อเกี่ยวกับ ทวดหัวเขาแดง โดยมีตำนานพื้นบ้านเล่าต่อกันมาว่า ทวดเขาหัว แดง เดิมเป็นชายชราชาวจีนเดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่มุ่งสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยเรือสำเภาขนาดใหญ่ ด้วย เป็นคนที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาจึงนำทรัพย์สมบัติติดตัวมาเพื่อนำมาร่วมบรรจุลงในพระบรมธาตุเมือง นครศรีธรรมราช แต่เรือสำเภากลับล่มบริเวณปากน้ำทางเข้าเมืองสงขลาและดวงวิญญาณก็ยังคงวนเวียนอยู่ใน บริเวณดังกล่าวในรูปของจระเข้ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า จระเข้ทวดหรือทวดจระเข้ และเชื่อกันว่าทวดเขาหัวแดงใน รูปแบบของจระเข้จะคอยเฝ้าปากน้ำเมืองสงขลา คอยดูแลไม่ให้ชาวบ้านเกิดอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งยังป้องกันคลื่น ทะเลให้กับชาวบ้านขณะออกหาปลาอีกด้วย ชาวประมงในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และถือเอาทวด เขาหัวแดงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

พาหนะที่ใช้ในการทำประมง

1. เรือหางยาวเป็นพาหนะที่ชุมชนประมงหัวเขาแดงส่วนใหญ่ใช้ทำประมง พบในทุก หมู่บ้านของตำบลหัวเขาแดง เรือมีขนาดเล็ก รูปร่างเพรียวยาว เหมาะแก่การทำประมงชายฝั่ง

2. เรือกอและท้ายตัดและเรือหัวโทง ลำเรือมีขนาดเล็กกะทัดรัด ท้องเรือตื้น ทรงตัวโต้คลื่นลมได้ดี

3. เรือหัวโทง เป็นเรือขนาดเล็ก หัวเรือสูงงอนขึ้นไปบรรจบกับทวนหัวที่ยื่นสูงขึ้นมา 

เครื่องมือประมงพื้นบ้าน

เครื่องมือประมงพื้นบ้านของชุมชนหัวเขาแดงพบเครื่องมือ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ลอบ โพงพาง และ อวน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชาวประมงมีการใช้ เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทของสัตว์น้ำที่จับ

ป้อมเมืองเก่าสงขลา

ป้อมเมืองสงขลาเก่า ซึ่งตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ทั้งบนเขาและที่ราบ ซึ่งใช้เป็นป้อมปราการป้องกัน ต่อสู้ ปกป้องบ้านเมือง

เมืองสงขลาเก่าที่ตั้งอยู่ในบริเวณตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ปรากฏชื่ออยู่ในเอกสารโบราณว่า SINGORA เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาราวกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ก่อตั้งเมืองโดยดาโต๊ะโมกอล และปกครองต่อมาโดยสุลต่านสุลัยมาน และสุลต่านมุสตาฟา ซึ่งเป็นผู้ปกครองกลุ่มมุสลิมที่มีความสามารถด้านการค้าและการสู้รบปกป้องบ้านเมือง ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองสงขลาเป็นเมืองท่าที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะมีการขยายตัวทางด้านการค้าอย่างกว้างขวางกับชาวต่างชาติ เช่น ดัตช์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่อมาเมืองสงขลาเริ่มแข็งเมืองกับกรุงศรีอยุธยา จนทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาต้องส่งกำลังมาปราบปรามจนสำเร็จใน พ.ศ. 2223 ทำให้บ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้าง ผู้คนได้ย้ายมาตั้งที่อยู่ใหม่บริเวณปลายสุดของคาบสมุทรสทิงพระ หรือบ้านแหลมสน และเรียกกันเรื่อยมาว่า “เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน” ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองสมัยต้นรัตนโกสินทร์โดยอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชื้อสายจีน

ทั้งนี้ เมืองสงขลาเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นเมืองที่มีคูเมือง กำแพงเมือง และป้อมปราการ เป็นอาณาเขตและเป็นปราการของเมือง แผนผังเมืองที่เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2230 โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) แสดงแผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูเมืองและกำแพงเมืองเป็นปราการด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีเขาแดงและเขาค่ายม่วงเป็นปราการด้านทิศใต้

จากการศึกษารูปแบบและแผนผังการก่อสร้างป้อมดังกล่าวสันนิษฐานว่าชาวอังกฤษคงจะมีส่วนให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างและซ่อมแซม ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบเห็นร่องรอยของป้อมเมืองสงขลาเก่าที่ก่อด้วยหินสอปูนอย่างน้อย 14 ป้อม ประกอบด้วย

  1. ป้อมบนที่ราบและเชิงเขา ลักษณะเป็นป้อมขนาดกลางรูปสี่เหลี่ยม มีช่องทางเข้าหรือบันไดอยู่ทางด้านในหรือด้านข้าง ส่วนบนทำเป็นเชิงเทิน มีช่องมองสลับใบบังรูปสี่เหลี่ยมอยู่โดยรอบ ด้านนอกมีเสาครีบค้ำยันเพื่อเสริมความมั่นคงของโครงสร้าง และป้องกันแรงกระแทกจากการยิงของปืนใหญ่ ได้แก่ ป้อมหมายเลข 1, 2, 3, 9, 11, 12, 13 และ 15
  2. ป้อมบนเขาและลาดเขา มีลักษณะเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยม มีช่องมองและส่งสัญญาณมายังเบื้องล่าง ได้แก่ ป้อมหมายเลข 4, 5, 6, 7, 8, และ 10

ทุนธรรมชาติ

ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

เป็นลุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของภาคใต้ทะเลสาบแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ ส่วนบนสุดเป็นทะเลน้อย ถัดมา เป็นทะเลหลวง ส่วนที่สามเป็นทะเลสาบสงขลา (ตอนบน) และล่างสุดเป็น ทะเลสาบสงขลา (ตอนล่าง) มีระบบนิเวศแบบ 3 น้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งสภาพน้ำของทะเลสาบจะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงฤดูกาล ทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งสัตว์น้ำ และพืชพรรณธรรมชาติ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เมื่อก่อนคนในพื้นที่ประกอบอาชีพเพื่อยังชีพหรือทำประมงขนาดเล็ก โดยใช้เรือขนาดเล็ก เช่น เรือพื้นบ้าน แต่ปัจจุบันชาวประมงบางส่วนเปลี่ยนจากเรือ พื้นบ้านขนาดเล็กมาเป็นเรือที่ ติดเครื่องยนต์ วิถีทำประมงพื้นบ้านจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป เป็นผลมาจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิถีการทำ ประมงพื้นบ้านในชุมชนหัวเขาแดงซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยทางสังคมที่มีความแตกต่างกันส่งผล ต่อการใช้ประเภทของเครื่องมือ ตำแหน่งที่วางเครื่องมือเพื่อจับสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ปัจจัยทางกายภาพที่สำคัญ ได้แก่ ความใกล้-ไกลชายฝั่งทะเล ระดับความลึกของน้ำทะเล และทิศทางการไหลของน้ำ ซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้ เครื่องมือที่แตกต่างกัน อาทิเช่น ลอบ ชนิดลอบปูม้า นำไปวางไว้ที่พื้นทะเลที่เป็นทางผ่านของสัตว์น้ำ โดยยึดให้อยู่ กับที่ด้วยวัตถุที่มีน้ำหนัก เพื่อให้สัตว์น้ำว่ายเข้าลอบ ซึ่งจะพบในบริเวณไกลชายฝั่ง และโพงพาง ชนิดโพงพางหลัก พบในบริเวณทะเลใกล้ปากน้ำ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมธรรมชาติของทะเลสาบสงขลา (ตอนล่าง) ทำให้การจับสัตว์น้ำได้ปริมาณที่ลดน้อยลง ส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงแต่ชาวประมงก็ยังคงยืนยันว่าจะทำประมงต่อไป จะเห็นว่าในอดีตการประมงพื้นบ้านของชุมชนหัวเขาแดงทำเพื่อยังชีพ เป็นลักษณะการพึ่งพิงหรืออยู่ภายใต้ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เนื่องจากทรัพยากรทางทะเล และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ มีปริมาณมาก แต่ปัจจุบันปริมาณสัตว์น้ำน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาจากป่าชายเลนลดน้อยลง มีสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ มากขึ้น รวมไปถึงการทิ้งขยะลงแหล่งน้ำก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งสะท้อนให้เห็น การดำรงชีพของชาวประมงและครอบครัว ที่จะต้องใช้กลวิธีในการต่อสู้เพื่อให้อยู่รอดในภาวะขาดแคลนทรัพยากร โดยชาวประมงเริ่มมีการหันไปประกอบอาชีพเสริมที่หลากหลาย เช่น การเลี้ยงสัตว์ไว้ขาย การแปรรูปสัตว์น้ำ การรับจ้าง เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กรมศิลปากร. ป้อมเมืองสงขลาเก่า. จาก https://www.finearts.go.th/

สมลักษณ์ บุญณรงค์. (2552). การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของเมืองสงขลาหัวเขาแดง จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 19(3), 343-351.

เชษฐา มุหะหมัด, เก็ตถวา บุญปราการ และชลลดา แสงมณีศิริสาธิตกิจ. (2563). “สองเขา หนึ่งเล เสเริน”: การจัดการทรัพยากรประมงร่วมในชุมชนหัวเขํา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารพัฒนาสังคม. 22(1), 82-99.

ประไพพิศ ชอบแต่ง, ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ และนิสากร กล้าณรงค์. วิถีการทำประมงพื้นบ้านชุมชนหัวเขาแดง ตำบลหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาที่ (ยังไม่) เปลี่ยนแปลง. สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุทธพงศ์ อยู่ดวง และอุทิศ สังขรัตน์. (2560). ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวประมงพื้นบ้านที่มีต่อทวดเขาหัวแดง ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23(2), 28-37.

เทศบาลตำบลหัวเขา โทร. 0-3547-0047