-
บ้านดงเย็นดินแดนแห่งวิถีเกษตรอินทรีย์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย พึ่งพิงตัวเอง
-
หมู่บ้านแห่งนี้เดิมทีเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยอย่างชุกชุม ทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีสภาพเป็นทุ่งกว้าง พื้นที่ป่าแห่งนี้เริ่มมีประชาชนเข้าอาศัย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 หรือ 150 ปีมาแล้ว
-
ชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลรอบเกาะ ประชาชนประกอบอาชีพการประมงและห่วงโซ่การประมงเป็นหลัก มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีวิถีชีวิตที่มีความเป็นเอกลักษณ์
-
ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ หมอนขวาน ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ประเพณีกินดอง ประเพณีแห่นางแมวขอฝน เทศกาลสารทเดือนสิบของชาวลาวเวียง
-
ความเป็นอยู่ของชุมชนพหุวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งชาติพันธุ์อาข่า ลาหู่ และจีนฮ่อ รวมไปถึงประเพณี วัฒนธรรมทางศาสนาที่หลากหลาย แม้ว่าวัฒนธรรมจะแตกต่างแต่ผู้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว
-
พื้นที่ทางวัฒนธรรมไทย-เขมร ทางผ่านในการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ประตูไปสู่ปราสาทพระวิหารและผามออีแดง แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดศรีสะเกษที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
-
ชุมชนชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน แม่สานสามัคคี เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มเครือญาติ ตระกูลขนาดใหญ่ ส่วนมากเป็นพี่น้องหรือตระกูลเดียวกัน มีบางส่วนที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นบ้างสินค้าชุมชน ได้แก่ ผ้าปักมือของชาวอิ้วเมี่ยน ที่มีเอกลักษณ์สวยงาม และแอบแฝงไปด้วยการสื่อความหมาย เครื่องประดับของชาวเผ่าเมี่ยนที่เป็นเครื่องเงินล้วนมีความสวยงามเป็นอย่างมาก
-
หลีกเร้นความวุ่นวายจากป่าปูน ล่องแพตามเขื่อนวชิราลงกรณสู่หมู่บ้านกลางน้ำ "ปิล๊อกคี่" สัมผัสความเงียบสงบและงดงามของทรัพยากรธรรมชาติที่หลายคนถวิลหา
-
ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสู่ความสำเร็จในการพลิกฟื้นผืนป่าชุมชนกว่า 1,000 ไร่ ตามแนวพระราชดำริให้กลับมาคืนคงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งรายได้เป็นดอกผลจากความพยายามในการอนุรักษ์
-
1. มีลำคลอง ชื่อ “คลองหวาย”ไหลผ่านชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนบ้านคลองหวาย2. วัดคลองหวาย เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยงโปว์บ้านคลองหวาย เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านคลองหวาย3. มีต้นไทรขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี จำนวน 2 ต้น ขึ้นอยู่ข้างกัน ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ต้นปู่ไทร” และ“ต้นย่าไทร”