บ้านคลิตี้ล่าง
บ้านคลิตี้ล่าง เป็นหมู่บ้านที่มีการปฏิบัติสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง
แม้ตกอยู่ภายใต้สภาวะปัญหาปนเปื้อนของลำห้วยคลิตี้ อันเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวคลิตี้ล่างไป
บ้านนครชุมน์
“กวานโหน่ก” คือชื่อเรียกชุมชนในภาษามอญ การแสดงออกทั้งทางภาษาและวิถีการดำเนินชีวิต เป็นรากเหง้าของชุมชนวัฒนธรรมที่ยังคงหยั่งรากลึกจากอดีตถึงปัจจุบัน
ม้งคีรีราษฎร์
ชุมชนชาวม้งคีรีราษฎร์เป็นชุมชนม้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดตาก
นับรวมประชากรชาวม้งทั้งหมดมากกว่า 19,000
คน อีกทั้งยังเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมการอยู่อาศัยร่วมกันของผู้คนถึง 5 กลุ่มชาติพันธุ์
บ้านบ้องตี้บน
บ้านบ้องตี้บนชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อันได้แก่ ชาวพม่า ชาวทวาย ชาวกะเหรี่ยง ชาวมอญ ชาวไทยและชาวอินเดีย
บ้านเลอตอ
บ้านเลอตอ พื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงมีการการส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ภายหลังการสร้างศูนย์โครงการหลวงเลอตอและข้อจำกัดที่เกิดจากการประกาศพื้นที่เขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ชุมชนจึงหันมาเพาะปลูกพืชไร่และไม้ยืนต้นแทนการปลูกฝิ่นและการทำไร่หมุนเวียน
ทุ่งมะเซอย่อ
ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนไทย โดยที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนเองควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนในเชิงตั้งรับกับกระแสโลกาภิวัตน์
บ้านแพะ
เรือนอาศัยที่ยังคงสร้างตามแบบเรือนจารีตของชาวกะเหรี่ยง และผ้าทองานหัตถกรรมที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน ด้วยความละเมียดในแต่ละขั้นตอน จึงได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น สินค้าวางขายในหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
บ้านไร่สะท้อน
ชุมชนบ้านไร่สะท้อนแห่งนี้มีภูมิปัญญาและวิถีชีวิตอันผูกพันอยู่กับต้นตาล จึงมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการนำตาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ผู้คนในชุมชนยังเปิดแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับต้นตาลให้แก่บุคคลภายนอกผ่านการท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม
บ้านท้ายเหมือง
บ้านท้ายเหมืองเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา และวัฒนธรรม ประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ คนไทยจากภาคอีสาน ชาวกะเหรี่ยงนอก ทั้งคนพม่า คนทวาย กะเหรี่ยงและมอญ