บ้านขุนสมุทรจีน
ชุมชมกลางน้ำเก่าแก่ แหล่งรวบรวมโบราณวัตถุเครื่องสังคโลก ถ้วยชามจีนโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง อายุกว่า 300 ปี
ตลาดน้อย
ความโดดเด่นด้านงานฝีมือและงานช่าง แสดงถึงองค์ความรู้วัฒนธรรมชาวจีนที่ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อรุ่น เช่น การหล่อพระ การทำรองเท้า การทำหมอน การทำขนมโบราณ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเทศกาล เช่น การแสดงงิ้ว การทำอาหารเจ ฯลฯ
เกาะเกร็ด
ชุมชนเกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีพื้นที่ประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นชุมชนมอญเก่าแก่ทำให้มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมรูปแบบชาวมอญภายในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงและโด่ดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า "เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด" นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาสนถานที่สำคัญของชาวมอญอย่าง "วัดปรมัยยิกาวาส" ซึ่งภายในวัดแห่งนี้จะมีเจดีย์เอียงอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพื้นที่เกาะเกร็ด
ย่านเมืองเก่าสงขลา
ชุมชนเมืองเก่าสงขลาเป็นพื้นที่เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 200 ปี ภายในชุมชนมีสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่มีหลากหลายรูปแบบของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งรูปแบบอาคารตึกแถวแบบจีน แบบไทยและแบบตะวันตกปะปนสองข้างถนนภายในชุมชน จุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของหลากหลายวัฒนธรรมภายในเมืองเก่าสงขลา ทั้งนี้ปัจจุบันจึงสามารถสัมผัสกลิ่นอายประวัติศาสตร์ความเป็นพหุวัฒนธรรมในอดีตของเมืองสงขลาได้ในพื้นที่นี้
กุฎีจีน
เป็นชุมชนที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่นับถือ 3 ศาสนา คือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม ที่อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างไม่มีข้อขัดแย้ง รวมทั้งยังมีศาสนสถานของทั้ง 3 ศาสนา อยู่บริเวณชุมชนอีกด้วย
ตลาดร้อยปีสามชุก
ชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอสามชุก และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
หาดวอนนภาศัพท์
มีหาดวอนนภาเป็นจุดเด่นตรงที่อยู่ถัดไปจากหาดบางแสนมีบรรยากาศที่เงียบสงบ มีน้ำทะเลที่ใสและลึกประมาณ 1 เมตร สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางทะเลได้ ในช่วงท้ายหาดจะมีลักษณะเป็นก้อนหินกั้นเป็นแนวยาวเป็นทาง มีสะพานปลาวอนนภาอยู่สุดปลายหาดซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวประมง ทุก ๆ วันจะมีเรือนำปลาที่หาได้จากทะเลมาขึ้นที่สะพานปลาแห่งนี้และสามารถซื้อกับชาวบ้านในราคาที่ถูกได้
หลวงพรต-ท่านเลี่ยม
ชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย