-
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงผ้าทอด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
-
บ้านตะโหนด มีรูปแบบวิธีการทำนาแบบพิเศษที่มีความแตกต่างจากการทำนาทั่วไป เรียกว่า "นาพรุ" ซึ่งต้องเลือกสรรพันธุ์ข้าวที่ใช้สำหรับนาพรุเป็นการเฉพาะ
-
หมู่บ้านห้วยน้ำขาว ชุมชนเข็กน้อย เป็นชุมชนวัฒนธรรมชาวม้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
-
บ้านใหม่หมอกจ๋าม เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีการเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกันของผู้คนหลายชาติพันธุ์ หลากเชื้อชาติ ต่างภูมิลำเนา อีกทั้งยังมีผ้าทอพื้นเมืองไทใหญ่ ที่ได้รับขนานนามว่าเป็น 1 ใน 10 สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเชียงใหม่
-
-
ผ้าหม้อห้อมบ้านทุ่งโฮ่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษชาวไทพวน นำพาบ้านทุ่งโฮ้งก้าวเข้าสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิงหัตถกรรม เอกลักษณ์ของบ้านทุ่งโฮ้งและจังหวัดแพร่ ดังคำขวัญของจังหวัดแพร่ที่กล่าวไว้ว่า “หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”
-
ชุมชนวัฒนธรรมชาวดาระอั้ง หรือดาราอาง ที่เคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงคราม สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและสินค้าหัตถกรรมการทอผ้า
-
สืบเนื่องจากบ้านโคกโก่งตั้งอยู่ในอาณาบริเวณที่มีภูมิทัศน์ทางธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการจัดการท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่งดงาม นำไปสู่การผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม นำเอาการท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์เข้ามาในชุมชน ก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่งโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อถ่ายทอดวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมผู้ไทให้เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้าน
-
ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่อยู่อาศัยร่วมกับชุมชนไทย โดยที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนเองควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนในเชิงตั้งรับกับกระแสโลกาภิวัตน์
-
ชุมชนบ้านเวินบึก ประเพณีและพิธีกรรมในวิถีชีวิตเกี่ยวพันความเชื่อท้องถิ่นและวิญญาณบรรพบุรุษ นับถือผีเจ้าหอปู่ตาหรือที่เรียกว่า อะแย๊ะจำนัก
-
บ้านขอบด้ง หมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว อาทิ สตอเบอรี่ บ๊วย ท้อ ถือเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับชาวลาหู่ อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากโครงการหัตถกรรมในมูลนิธิของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทำกำไลหญ้าอิบูแค เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน