Advance search

ชุมชนชาติพันธุ์
แสดง 253 ถึง 264 จาก 270 ผลลัพธ์
|
  • อุทัยธานี

    ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นได้รับการประกาศเป็น “พื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมพิเศษ” โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการฟืนฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553ในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมี “ลำห้วยพุเม้ยง์” ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมายาวนานกว่า 400 ปี เป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภค แหล่งน้ำในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของชุมชนในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม มีจำนวน 5 ต้น ชื่อว่า “ต้นสมพงษ์” แต่ละต้นมีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์รวมความเชื่อความศรัทธาทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่กับป่า แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เมื่อเดือน เมษายน 2566 เกิดลมพายุพัดผ่านชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ต้นสมพงษ์ขนาดใหญ่ทั้ง 5 ต้น ล้มทั้งยืน บางต้นล้มแบบหัก ขาดครึ่งกลางลำต้นลงมา จากนี้ไปคงเหลือเพียงชื่อที่เป็นตำนานเท่านั้นในชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น เป็นแหล่งรวมอารยธรรมกะเหรี่ยงโปว์ทางด้านจิตวิญญาณและความเชื่อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในชุมชนแห่งนี้ในปัจจุบันมีเจ้าวัด (ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ) ถึง 3 คน คือ เจ้าวัดผู้ชาย 2 คน ผู้นำจิตวิญญาณที่เป็นผู้หญิง (แม่ย่า) อีก 1 คน ในทุก ๆ ปี จะมีพิธีการไหว้เจดีย์ถึง 3 ครั้ง ได้แก่ การไหว้เจดีย์ในเดือน 3 เดือน 5 และเดือน 7 ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่และน่าเหลือเชื่อมาก เพราะชุมชนกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่มีเจ้าวัดกันแล้วชุมชนกะเหรี่ยงบ้านภูเหม็นเห็นถึงความสำคัญของการทำไร่หมุนเวียน จึงพยายามรื้อฟื้นวิถีการทำไร่หมุนเวียนให้กลับคืนมาดังเช่นในอดีต แต่พื้นที่สำหรับการทำไร่หมุนเวียนนั้นอาจจะน้อยลง เพราะปัจจุบันทุกคนมีพื้นที่จำกัด และการพักฟื้นหน้าดินหลังจากการทำไร่หมุนเวียนก็คงจะไม่นานถึง 7 – 8 ปี ดังเช่นในอดีต อาจจะเป็นการหมุนเวียนระหว่างการปลูกข้าวไร่กับพืชชนิดอื่นแทนการทิ้งร้างของพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน 

    กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง, พิธีค้ำต้นไทร, เจ้าวัด, ป่าสงวนแห่งชาติ

    อ่านต่อ
  • ตาก

    นั่งหลังช้างชมธรรมชาติ สัมผัสบรรยากาศหมู่บ้านกลางหุบเขา ยลวิถีอัตลักษณ์ปกาเกอะญอที่บ้านทิโพจิ

    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง, พิธีมัดมือ, ถ้ำทิโพจิ

    อ่านต่อ
  • แม่ฮ่องสอน

    ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอบนพื้นที่สูงท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับวิถีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และภูมิปัญญาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

    การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, ชุมชนปกาเกอะญอ, บ้านแม่กองคา

    อ่านต่อ
  • เชียงใหม่

    ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปว์หรือโผล่งในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังคงสืบทอดเอกลักษณ์การทอผ้าและจำหน่ายให้กับบุคคลภายนอก

    ผ้าทอ, กะเหรี่ยงโปว์, ผาลาด

    อ่านต่อ
  • กาญจนบุรี

    ชุมชนมีห้วยน้ำโรคี่ไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ ในหมู่บ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชผักทุกชนิด และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้อุกโภคบริโภค และเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาได้หลากหลายชนิด

    กาแฟ, ภูเขาเกาะสะเดิ่ง, สานตะกร้า, แม่น้ำโรคี่, พิธีฟาดข้าว

    อ่านต่อ
  • อุทัยธานี

    ใจกลางชุมชนบ้านกุดจะเลิด มีต้นกะพงษ์ขนาดใหญ่ อายุกว่า 100 ปี และมีต้นไทรอายุกว่า 100 ปี อยู่ท้ายหมู่บ้าน เป็นเสมือนศูนย์รวมความเชื่อและจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชนชุมชนบ้านกุดจะเลิดมีแม่น้ำคอกควายที่ไหลผ่านชุมชนเป็นระยะทางกว่า 500 เมตร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชน ชุมชนแห่งนี้ตั้งอยู่กลางหุบเขา มีภูเขาขนาดใหญ่ล้อมรอบดูผิวเผินเหมือนทิวทัศน์ในประเทศสวิสแลนด์ มีความงดงามทางธรรมชาติ

    ผ้าทอกะเหรี่ยง, แกงส้มป่า, ต้นกะพง 100 ปี, แม่น้ำคอกควาย

    อ่านต่อ
  • น่าน

    บ้านน้ำแคะ ชุมชนชาวลัวะที่ตั้งอยู่อย่างสันโดษบนภูเขาสูง หมู่บ้านที่ยังคงรักษา อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมดั้งเดิมของเหล่าบรรพชนชาวลัวะเป็นพื้นฐานและหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

    ลัวะ, น้ำแคะ, ข้าวไร่

    อ่านต่อ
  • เชียงใหม่

    คริสตจักรบ้านขุนป๋วย เป็นศาสนสถานประจำชุมชน ถือเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน เห็นได้จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมกับโบสถ์ที่อยู่คู่กับชุมชนมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดูแลซึ่งกันและกัน ผ่านพิธีการนมัสการ เกิดการทำกิจกรรมนอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา การรวมกลุ่มทั้งกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน เยาวชนและเด็กมีการพัฒนาด้านบุคคล การจัดเข้าค่ายเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียน ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาชุมชน ขณะเดียวกันในทุกวันอาทิตย์ของการเข้าโบสถ์ ทุกคนจะต้องใส่ชุดประจำเผ่าทั้งชายและหญิงเพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมการแต่งกายชุดชนเผ่ากะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ต่อไป  

    พิธีมัดมือปีใหม่, การลงเเขกทำเกษตรกรรม, แม่น้ำป๋วย, การจัดการป่าชุมชน

    อ่านต่อ
  • กาญจนบุรี

    หมู่บ้านกะเหรี่ยงที่ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น

    จักสาน, งานบุญข้าวใหม่, บ้านทิไล่ป้า

    อ่านต่อ
  • ลำปาง

    หมู่บ้านที่ก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2452 เกิดจากการรวมกลุ่มชุมชน ได้แก่ คนเมือง เผ่าเย้า ขมุ และเผ่าปกาเกอะญอ โดยได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรวมกัน ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมประเพณี แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขสามัคคี

    วันอีสเตอร์, ประเพณีทำบุญทานศาสนาคริสต์, พิธีนมัสการพระเจ้าทั้งหมดของหมู่บ้าน

    อ่านต่อ
  • ลำพูน

    เป็นหมู่บ้านที่มีลำน้ำแม่ขนาดไหลผ่าน และมีวิถีชุมชนกับการเกษตร ที่สามารถสร้างรายได้ ซึ่งไม่ทิ้งการเกษตรแบบดั้งเดิมไว้

    งานมัดมือขึ้นบ้านใหม่, งานสงกรานต์, งานเลี้ยงผีต้นน้ำ, งานเลี้ยงผี ผิดผี

    อ่านต่อ
  • น่าน

    หมู่บ้านเล็ก ๆ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาวและป่าน้ำสวด ชุมชนชาวลัวะที่ยังคงมีการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมดังเช่นการ "ตีพิ" ประเพณีการเรียกขวัญข้าวออกจากไร่เพื่อนำไปเก็บยังยุ้งฉาง ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของการทำเกษตรกรรมที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชาวลัวะบ้านน้ำมีดมาอย่างยาวนาน

    การจัดการป่าชุมชน, ขุนน้ำมีด, ตีพิ

    อ่านต่อ