-
-
ชาวปกาเกอะญอ บ้านแม่อุมพาย มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับการทำไร่หมุนเวียน โดยชาวบ้านจะทำไร่ร่วมกันในที่ดินผืนใหญ่ผืนเดียวหมุนเวียนในระยะ 7 ปี โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการทำไร่หมุนเวียนอย่างเป็นระบบ ทำให้ดิน น้ำ ป่าไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน
-
ชาวผู้ไทบ้านน้อมเกล้ามีพิธีกรรมการรักษาโรคประจำกลุ่มชาติพันธุ์ คือ “พิธีกรรมเหยา” ซึ่งถือเป็นสัญญะทางมโนทัศน์ที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวผู้ไท
-
ชุมชนริมน้ำมูล ชุมชนที่มีทุนทางสังคมเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ หาสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ สู่อาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง
-
ชุมชนบ้านบางลำพู เป็นชุมชนที่สมาชิกชุมชนให้ความสำคัญกับป่าจาก เพราะเป็นไม้สำคัญทางเศรษฐกิจของชุมชน ดังนั้นจึงมีการจัดการท่องเที่ยวชมป่าจาก ดังคำขวัญ พาสาว เที่ยวคลองลำพู แลหิ่งห้อย
-
-
หลางตาง ชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านจากต่างภูมิลำเนา 19 จังหวัดทั่วประเทศไทย
-
หมู่บ้านหาดทรายขาว เป็นหมู่บ้านที่มีทรัพยากรทางทะเลที่หลากหลาย บริบูรณ์พร้อมด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด อีกทั้งยังมีตลาดซื้อขายสัตว์ทะเลที่สำคัญ จนขึ้นชื่อว่าเป็น แพปลา แห่งหนึ่งของตำบลกำพวน
-
ชุมชนบ้านน้ำหมัน ปรากฏความเชื่อเกี่ยวพันกับการรักษาโรค อย่างการสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เรียกขวัญ ผูกข้อมือ เข้าทรง ซึ่งเป็นประเพณีที่ยังดำรงอยู่คู่กับชาวบ้านจนกระทั่งปัจจุบัน
-
บ้านแม่ผาแหนเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ บางพื้นที่เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อ่างเก็บน้ำผาแหน พื้นที่เปิดโล่งมีแนวเขาเป็นฉากหลังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งจะเห็นเป็นภูเขาหินที่มีหน้าตัดเหมือนหน้าผา บริเวณสันเขื่อนเหมาะแก่การถ่ายภาพบุคคลคู่กับวัตถุท้องฟ้า ประกอบกับระยะทางไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก การเดินทางจึงสะดวกและปลอดภัย จนนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้เหมาะเป็นสนามซ้อมมือของพรานดาราที่เพิ่งเริ่มฝึกถ่ายดาว
-
แหล่งเรียนร่องรอยรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติตั้งแต่สมัยสงครามโลก และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ที่ก่อรูปตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านกว่า 30 ปี