Advance search

หนองห้วยแร้ง

เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งจะมีกิจกรรมล่องแก่งชมธรรมชาติสองฝั่งคลองห้วยแร้ง 

หมู่ที่ 5
ห้วยแร้ง
เมืองตราด
ตราด
วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-9092-7844, อบต.ห้วยแร้ง โทร. 0-3952-4691
พรบุญญา อุไรเลิศ
20 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
14 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
27 เม.ย. 2023
ห้วยแร้ง
หนองห้วยแร้ง

คำว่า ห้วยแร้ง สันนิษฐานว่าหนองน้ำซึ่งมีหินรูปนกแร้ง ซึ่งจะเห็นเมื่อช่วงฤดูแล้งที่มีน้ำตื้น ชาวบ้านเรียกหนองห้วยแร้ง และในพื้นที่ก็มีนกแร้งมากินน้ำบริเวณนั้น ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่นี้ว่า ตำบลห้วยแร้ง มาจนถึงปัจจุบัน


เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งจะมีกิจกรรมล่องแก่งชมธรรมชาติสองฝั่งคลองห้วยแร้ง 

หมู่ที่ 5
ห้วยแร้ง
เมืองตราด
ตราด
23000
12.363345851798435
102.54692751252108
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง

บ้านห้วยแร้งตั้งมานานกว่า 300 ปี  เป็นหมู่บ้านมีพื้นที่เชื่อมกับลำคลอง ซึ่งตำบลห้วยแร้งเป็นพื้นที่รับน้ำจากอำเภอต่าง ๆ เนื่องจากพื้นที่อำเภอบ่อไร่มีพื้นที่ติดต่อกับแนวเทือกเขาบรรทัด เชื่อมกับอำเภอเขาสมิงที่มีเนินเขาสลับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา เลยทำให้พื้นที่ของห้วยแร้งเป็นแหล่งรองรับน้ำ และทำให้เกิดภูมิประเทศที่มีคลองที่ทอดตัวเป็นแนวยาวไหลลงสู่แม่น้ำตราด เชื่อมกับอ่าวตราดที่เป็นส่วนอ่าวในของอ่าวไทยที่มีเกาะช้างและหมู่เกาะต่าง ๆ เป็นแนวเขตแดนกั้นทิศทางกระแสลม 

ตำนานเล่าว่า ในสมัยก่อนมีลำห้วยขนาดใหญ่ แม่น้ำจากคลองห้วยแร้งไหลผ่าน ในลำห้วยนั้นมีนกแร้งลงมาหากิน เป็นที่อาศัยและหาอาหารของนกแร้ง ในปัจจุบันเมื่อน้ำลดจะเห็นก้อนหินมีรูปร่างคล้ายนกแร้ง ในสมัยนั้นจะมีสัตว์ป่าชุกชุมเป็นป่าทึบ ชาวบ้านมักนำควายไปเลี้ยงตามทุ่งสาธารณะในตำบล เช่น ทุ่งหมาจีน ทุ่งขุนชัย เมื่อเกิดโรคห่าระบาดควายได้ตายตามทุ่งและหนองดังกล่าวมีนกแร้งมากินควายตายเป็นจำนวนมาก

คนในชุมชนเป็นชนพื้นเมืองเดิมเชื้อสายชอง (ชองเป็นชนเผ่าที่ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่มาอยู่ในตำบลห้วยแร้งนับเป็นเวลาประมาณ 150 ปี) บางส่วนตั้งรกรากประกอบอาชีพอยู่ในเกาะกงประเทศกัมพูชา ก่อนการยึดครองของประเทศฝรั่งเศสจึงได้อพยพมาตั้งรกรากในตำบลห้วยแร้งจับจองที่ดินทำมาหากิน บ้างก็ยังคงตั้งรกรากที่เกาะกงไม่ได้อพยพมาจนกระทั่งประเทศฝรั่งเศสได้ยึดครองเมืองตราด  และชองเป็นชนพื้นเมืองของจังหวัดตราด ที่มีภูมิลำเนาอยู่ตามชายแดน และเชิงเขาชอบทำมาหากินอยู่ตามป่าเขา เช่น ทำไร ทำนาตามเชิงเขา นับถือศาสนาพุทธ และผี 

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาวชอง ของชุมชนห้วยแร้ง ได้อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย คือ บริเวณจังหวัด ระยอง จันทบุรี ตราด และอาศัยเลยเข้าไปในเขตสาธารณรัฐกัมพูชา ซึ่งมีอณาเขตติดต่อกับจังหวัดจันทบุรี ตราด มาตั้งแต่ดั้งเดิม จากสภาพความเป็นอยู่อาชีพ สังคม และวัฒนธรรมดั้งเดิม ชาวชอง มีลักษณะเป็น ชาวป่า มาก จึงสรุปได้ว่า ชาวชอง เป็นชาวป่ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตร–เอเชียติค และกลุ่มย่อยกลุ่ม มอญ–เขมร จึงเป็นชนเผ่าพื้นเมืองชุมชนห้วยแร้งในบริเวณนี้มายาวนาน

ปัจจุบันเป็นชุมชนที่ยังคงสภาพป่า และแม่น้ำลำคลองที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และยังมีวิถีชีวิตของชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนห้วยแร้ง

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ       ติดต่อกับ ตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่
  • ทิศใต้          ติดต่อกับ ตำบลวังกระแจะ ตำบลเนินทราย อำเภอเมืองตราด
  • ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ ตำบลเนินทราย ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด
  • ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ ตำบลทุ่งนนทรี ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

เขตตำบลห้วยแร้งเป็นที่ราบลุ่มสลับเชิงเขา ทางตอนเหนือของตำบลเป็นที่สูง ส่วนทางตอนล่างเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน คือ คลองห้วยแร้ง และคลองพีด

จากข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด ระบุจํานวนครัวเรือนและประชากรชุมชนห้วยแร้ง จํานวน 323 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 720 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 343 คน หญิง 377 คน

ชุมชนห้วยแร้งมีชาติพันธุ์ที่ชื่อว่า ชอง แปลว่า คน ซึ่งคำนี้ใช้เป็นทั้งชื่อเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมของจังหวัดจันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา และมีภาษาถิ่นที่พวกเขาใช้พูดกัน โดยมีการให้ความหมายว่าเป็นชื่อของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี ในประเทศไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่า ชอง 

ชอง

น้ำซอสอเนกประสงค์ เป็นผลิตภัณฑ์ต่อยอดจาก ผลิตภัณฑ์น้ำพริกเผา ที่ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยแร้ง ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนตราด ได้ร่วมกันผลิตคิดค้นสูตรขึ้นมา โดยใช้วัตถุดิบหลัก คือสับปะรดตราดสีทอง ที่ปลูกกันมากในพื้นที่ ตำบลห้วยแร้ง ซึ่งเป็นการผลักดันกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยวิทยาลัยชุมชนตราดเข้ามาช่วยส่งเสริม และสนับสนุนในรูปแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะผลผลิตภาคเกษตร ในพื้นที่ บ้านห้วยแร้ง ที่เกษตรกร ส่วนใหญ่ ปลูกสับปะรด ซึ่งบางช่วง ผลผลิตสับปะรดมีราคาตกต่ำ ทำให้ถูกปล่อยทิ้งเน่าเสีย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีการนำผลไม้มาแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมา ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

ประเพณีทอดผ้าป่าสามัคคี การทอดผ้าป่าสามัคคีเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวห้วยแร้ง คล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด คือสามารถจะทอดเมื่อไรก็ได้ ด้วยการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่าชาวห้วยแร้งมารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาเงิน สร้างถาวรวัตถุเพื่อให้ชาวห้วยแร้งช่วยกันส่งเสริมพุทธศาสนา 

ประเพณีทำบุญวันสงกรานต์ ชุมชนห้วยแร้งเองก็มีประเพณีทำบุญวันสงกรานต์ในท้องถิ่นในช่วงวันสงกรานต์เหมือนกับท้องถิ่นอื่น ๆ ก็จะมีการรวมตัวกันแล้วทำบุญร่วมกัน

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ

ชุมชนห้วยแร้งส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา สวนสับปะรด และสวนผลไม้ต่างๆ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มีการประกอบอาชีพประมง ได้แก่ เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา และมีการเลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ เลี้ยงโคขุน

สุทัศน์ สุนทรเวช เลขานุการกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำบลห้วยแร้ง กล่าวถึงว่า การท่องเที่ยวที่นี่จะได้ความสุข ความผ่อนคลาย และยังได้ความรู้จากการลงมือทำจริงร่วมกัน  สามารถหาซื้อของได้จากคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกัน ส่วนกิจกรรมการเรียนรู้ก็มีให้ลงมือทำ เช่น การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน การสอนทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น การทำข้าวห่อกาบหมาก การทำสบู่มังคุด การสอนทำหมวกใบจาก การทำขนมจาก

ทุนวัฒนธรรม

วัดบางปรือ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด มีพระครูสิริธรรมรักขิต เป็นเจ้าอาวาส และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดตราด วัดบางปรือประกาศจัดตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2350 เริ่มแรกตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาไม่น้อยกว่า 50 ปี จนเมื่อประกาศตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2350 เหตุที่ใช้ชื่อวัดว่า วัดบางปรือ เพราะบริเวณวัดมีหญ้าชนิดหนึ่งเรียกว่าปรือขึ้นอยู่ริมน้ำซึ่งอยู่ติดกับบริเวณสร้างวัด เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านชุมชนห้วยแร้งที่นับถือพุทธศาสนา  

ชุมชนห้วยแร้งมีภาษาของชาวกะ – ซอง ตระกูลออสโตรเอเชียติก ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง 


มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในชุมชนห้วยแร้งมากขึ้น และเริ่มมีการสร้างโฮมสเตย์ที่ห้วยแร้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชนผ่านความร่วมมือของคนภายในชุมชนห้วยแร้ง

ชุมชนห้วยแร้งนั้นเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอำเภอเมืองตราดที่น่าสนใจ เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งคลอง 3 น้ำ ซึ่งสภาพของสายน้ำตอนบนนั้นไหลผ่านผืนป่าบนเนินเขาอันเป็นแหล่งต้นน้ำของสายธาร จึงมีสภาพเป็นน้ำจืดที่ไหลผ่านแก่งน้ำที่มีมากถึง 12 แก่ง

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (ม.ป.ป.). ห้วยแร้ง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก :  https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbtcommunity/centralcommunity/huayrang/.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแร้ง. (ม.ป.ป.). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก : http://huairang.go.th/data_9350.

สำนักงานกองทุนสนับสนุน. (ม.ป.ป.). ท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำบลห้วยแร้งจังหวัดตราด. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2566, จาก : https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/WLOJ.

วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-9092-7844, อบต.ห้วยแร้ง โทร. 0-3952-4691