
ชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และยังขุดพบโบราณวัตถุที่สามารถยืนยันว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนโบราณมาก่อน
ชื่อบ้านเชียงเหียนมาจากตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาหลายสำนวนว่าเป็นเมืองเก่าสมัยเดียวกับ"ตำนานเรื่องผาแดงนางไอ่ที่จะนำเสนอต่อไปเพียง1สำนวน ในศตวรรษที่14 สมัยขอมเรืองอำนาจ สมัยพระเจ้าวรมันที่2 ขยายอาณาเขตมาถึงดินแดนลาวเกือบทั้งหมด และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของลาว ชื่อเมือง ชะตา ชื่อเมืองสุวรรณโคมคำ ชาวเมืองเรียกเจ้าเมืองว่า พระยาขอม (พระยาขอมมีมเหสีชื่อ นางจันทร์ มีธิดาชื่อ ไอ่คำ เป็นหญิงที่มีสวยม) เมื่อเมืองชะคีตาเจริญรุ่งเรืองมากแล้ว พระยาขอมจึงโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ (คือน้องชาย 2 คน หลาน 3คน) ไปสร้างเมืองหน้าด่าน อีก5เมือง คือ
- เจ้าสีแก้ว(น้อง) ไปสร้างเมืองสีแก้ว
- เจ้าเชียงเหียน(น้อง) ไปสร้างเมืองเชียงเหียน
- เจ้าเชียงหงษ์(หลาน)ไปสร้างเมืองเชียงหงษ์
- เจ้าฟ้า(หลาน)ไปสร้างเมืองฟ้าแดดสงยาง
- เจ้าเชียงทอง(หลาน)ไปสร้างเมืองเชียงทอง
ชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ และยังขุดพบโบราณวัตถุที่สามารถยืนยันว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนโบราณมาก่อน
ประวัติเมืองเชียงเหียนหรือบ้านเชียงเหียนแต่โบราณไม่มีหลักฐานเขียนไว้แน่นอน แต่มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาหลายสำนวนว่าเป็นเมืองเก่าสมัยเดียวกับ"ตำนานเรื่องผาแดงนางไอ่ที่จะนำเสนอต่อไปเพียง1สำนวน ในศตวรรษที่14 สมัยขอมเรืองอำนาจ สมัยพระเจ้าวรมันที่2 ขยายอาณาเขตมาถึงดินแดนลาวเกือบทั้งหมด และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของลาว ชื่อเมือง ชะตา ชื่อเมืองสุวรรณโคมคำ ชาวเมืองเรียกเจ้าเมืองว่า พระยาขอม (พระยาขอมมีมเหสีชื่อ นางจันทร์ มีธิดาชื่อ ไอ่คำ เป็นหญิงที่มีสวยม) เมื่อเมืองชะคีตาเจริญรุ่งเรืองมากแล้ว พระยาขอมจึงโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์(คือน้องชาย 2 คน หลาน 3 คน) ไปสร้างเมืองหน้าด่าน อีก 5 เมือง คือ
- เจ้าสีแก้ว(น้อง) ไปสร้างเมืองสีแก้ว
- เจ้าเชียงเหียน(น้อง) ไปสร้างเมืองเชียงเหียน
- เจ้าเชียงหงษ์(หลาน)ไปสร้างเมืองเชียงหงษ์
- เจ้าฟ้า(หลาน)ไปสร้างเมืองฟ้าแดดสงยาง
- เจ้าเชียงทอง(หลาน)ไปสร้างเมืองเชียงทอง
โบราณกาลสมัยก่อน การออกสร้างบ้านแปลงเมือง หรือการก่อร่างสร้างตน จะต้องมีไพร่พลแก้วแหวนเงินทองและของต่อไปนี้ (ตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ) คือ
- ช้าง หนึ่งฮ้อย หรือหนึ่งร้อย
- ม้า หนึ่งฮ้อย หรือหนึ่งร้อย
- วัว หนึ่งฮ้อย หรือหนึ่งร้อย
- ข้าราชบริพาร เก้าฮ้อย หรือเก้าร้อย
เมื่อเมืองหน้าด่านทั้ง5เมืองเจริญรุ่งเรืองแล้ว พระยาขอมได้จัดประเพณีบุญบั้งไฟขึ้นในเดือนหก และมีใบบอกบุญไปยังเมืองต่างๆ ให้นำบั้งไฟไปแข่งขันที่เมืองเอกชะคีตา ถ้าใครชนะ คือบั้งไฟขึ้นสูงจะได้รางวัล คือทรัพย์สินเงินทอง นางสนมกำนัล ส่วนท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโผงไม่ได้รับบอกบุญแต่ได้ทำบั้งไฟมาแข่งขันถ้าบั้งไฟผาแดงชนะจะได้นางไอ่คำเป็นรางวัล ผลการแข่งขัน ได้แก่
- บั้งไฟพระยาเชียงเหียนขึ้นสูงเสียบฟ้า
- บั้งไฟพระยาขอมไม่ขึ้น(เรียกว่าบั้งไฟซุ คือจุดแล้วจะมีไฟประกายแดงๆ พุ่งออกมาไม่ขึ้น)
- บั้งไฟผาแดงแตก
ท้าวภังคีลูกชายพระยานาคทำบั้งไฟมาแข่งเหมือนกัน เพราะหลงรักนางไอ่ แต่นางไอ่คำชอบท้าวผาแดง ท้าวภังคีซึ่งเป็น นาค จึงแปลงร่างเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่คำเห็น นางไอ่คำเห็นกระรอกเผือกแปลกประหลาด เพราะแขวนกระดิ่งทองคำเวลากระโดดมีเสียงไพเราะ จึงให้นายพรานจับเมื่อจับไม่ได้จึงใช้ธนูยิงตายและแร่เนื้อให้ชาวบ้านกิน(ก่อนตายท้าวภังคีอธิษฐานว่าใครกินเนื้อกระรอกเผือกตัวนี้ขอให้บ้านเมืองถล่มลง)เมื่อเมืองเอกชะคีตากินเนื้อกระรอกเผือกนี้บ้านเมืองจึงถล่มลง เหลือเพียงเมืองหน้าด่าน 5เมือง พระยาขอมก็เสื่อมอำนาจลง ลาวก็มีอำนาจมากขึ้น สมัยพระเจ้าชัยเชษฐ์จึงยกไพร่พลมาปราบขับไล่ขอมออกไป (ในช่วงศตวรรษที่18) ฉะนั้นเมืองขอม 4-5เมืองจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของลาวแต่ไม่ปรากฏชื่อของผู้ปกครองเมืองและไม่เจริญรุ่งเรืองเท่าที่ควรเมื่อประเทศไทยเป็นเอกราชกล่าววตามตำนานว่ามีพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งไปหลอกให้กษัตริย์ลาวแห่งเวียงจันทร์ปิดรูนาคและให้ทำลายกลองวิเศษที่เป็นของคู่บ้านคู่เมืองลาว (แต่ก่อนลาวจะมีกลองหรือฆ้องวิเศษ เวลามีความจำเป็นจะตีกลองหรือฆ้องวิเศษนาคจะขึ้นมาตามรู เพื่อมาช่วยลาวเลยเสื่อมอำนาจลง เมืองเชียงเหียนจึงเป็นเมืองร้างอีกที ต่อมาสมัยพระเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทร์ ไทยได้ขับไล่ ่ลาวออกไป มีเชื้อ อัญ-ยา(เชื้อพระยา) มาสร้างเมืองใหม่คือ
- อัญ-ยา พ่อเฒ่า
- อัญ-ยา พระศอ
- อัญ-สุริยะ (ต้นตระกูลขัตติยะวงศ์)
พร้อมใจกันสร้างเมืองเชียงเหียนขึ้นมาอีก แต่ไม่เจริญเท่าที่ควรเหมือนบ้านจาน จนกลายเป็นบ้านเชียงเหียนในทุกวันนี้
บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา เป็นเมืองโบราณมีลักษณะเป็นเนินสูงรูปไข่คือสูงตรงกลางมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะทำเลที่ตั้งที่ดีเมื่อฝนตกน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่คูน้ำและบึงที่อยุ่รอบหมุ่บ้านทุกบึง และจากทำเลที่ตั้งของบ้านเชียงเหียนดังกล่าวจึงมีความสอดคล้องกับลักษณะเมืองในสมัยทวารวดีคือมักจะมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมือง ซึ่งบ้านเชียงเหียนมีพื้นที่ติดต่อกับพื้นที่ดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านกุดซุย และบ้านลาด ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ลักษณะพื้นที่เป็นที่ลุ่มมีลำน้ำไหลผ่านคือห้วยคะคางทำให้พื้นที่ทำนาในบริเวณนี้ของบบ้านเชียงเหียนส่วนใหญ่เป็นนาลุ่มน้ำท่วมทุกปีและชาวบ้านเรีกอาณาบริเวณนี้ว่า “นาแซง” เนื่องจากบริเวณนี้มีต้นแซงซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นอ้อ นาที่ทำในบริเวณนาแซงมีจำนวนไม่มากนัก
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านร่วมใจ ตะบลแวงน่า อำเถอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ลักษณะเป็นที่ราบ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ติดต่อกับบ้านส่อง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ราบทำนาได้ผลดี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ติดกับบ้านหัน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบและสูงขึ้นในบริเวณขอบขอบของพื้นที่ การทำนาบางที่เป็นนาดอนได้ผลไม่ค่อยดี
บ้านเชียงเหียนเป็นเมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทำให้มีหนองน้ำอยู่รอบหมู่บ้านถึง 6 หนอง คือ บึงหว้า สระแก้ว หนองขอนพาด บึงบอน บึงสิม และบึงบ้าน ซึ่งหนองน้ำทั้งหมดสันนิษฐานว่าขุดไว้เป็นคูเมืองป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะมารุกราน ซึ่งลักษณะของหนองน้ำทั้งหมดนั้นจะโค้งอ้อมบ้านมีทางเข้าออกเป็นช่องระหว่างหนองน้ำแต่ละหนอง นอกจากนั้นแล้วหนองน้ำยังมีประโยชน์ในการกักเก็บน้ำสำหรับคนในเมืองหรือในบ้านใช้ด้วย
ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านเชียงเหียนมีทั้งหมด 1,843 คน มีจำนวนบ้านเรือนทั้งหมด 559 หลังคาเรือน
กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเชียงเหียน การทอผ้ามัดหมี่เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งนิยมทำกันมาช้านานในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่งในนั้นก็คือบ้านเชียงเหียน โดยนาย สากล พลเสน เป็นผู้ก่อตั้ง(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) แรกเริ่มมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 คน ปัจจุบันมี 7 คน ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างจากการทำนาและการเก็บเกี่ยว หรือเวลาว่างของทุก ๆ วัน มาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนและเพื่อเป็นรายได้เสริม อีกทั้งเก็บไว้ใช้ในงานประเพณีต่างๆด้วย ลวดลายส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว การทำผ้ามัดหมี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นส่วนใหญ่นิยมทำด้วยไหม
ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ในชีวิตประจำวันจึงทำเกษตรกรรมเป็นหลัก เมื่อว่างเว้นจากการทำนาก็ทำงานรับจ้างทั่วไป
- นายสิน โคตรมุลคุณ อายุ 71 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 51 หมู่ 3 ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านประเพณีพิธีกรรมสูตรเพื่อประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อและศาสนาประจำหมู่บ้านที่สำคัญได้แก่ สูตรขวัญนาค สูตรขวัญงานแต่งงานสูตรขึ้นบ้านใหม่และอื่น ๆ
เมืองโบราณ เมืองเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ก็เป็นเมืองหนึ่งที่ปรากฏในตำนานผาแดง-นางไอ่และบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นตำนานสร้างบ้านแปงเมืองคลาสสิคของอีสาน ส่วนตามหลักฐานโบราณคดี ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ ไฮแอม (Charles Higham) กล่าวว่า “ชั้นดินทางวัฒนธรรมของบ้านเชียงเหียนในระยะแรกมีอายุประมาณ 1,200 B.C หรือ 3,200 ปี เป็นการขุดอายุของชุมชนที่มีความเก่าแก่ที่สุดในแอ่งโคราชก็ว่าได้ และรูปแบบทางวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียงเหียนก็แตกต่างไปจากแบบบ้านเชียงอย่างสิ้นเชิง..” มีคูน้ำคันดินล้อมรอบที่ยังเห็นชัดเจน มีคันดิน 3 ชั้น คูน้ำ 2 ชั้น บริเวณชั้นนอกของเมืองมีเนินดินโบราณคดี 5 แห่ง ได้แก่ ดอนข้าวโอ ดอนปู่ตา ดอนย่าเฒ่า ดอนยาคู และหอนาง จากการขุดค้นทางโบราณครั้งแรก พบโครงกระดูกมนุษย์ พร้อมเครื่องสำริดฝังร่วมอยู่ และหากดูจากแผนที่ปัจจุบันจะเห็นว่าถนนตัดผ่ากลางเมืองโบราณ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนมีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีอยู่หน้าโรงเรียน ก็เดาว่าน่าจะตรงถนนพอดี ซึ่งตรงนั้นมีลักษณะเป็นโนน
ช่วงปี 2548-2550 มีการขยายถนนแจ้งสนิท (ช่วงมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด) มีการพบไหโบราณจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกว่า “ปู่ไห” ยกย่องในฐานะบรรพบุรุษ นอกจากนี้ภายในวัดโพธิ์ศรียังมีสิมแบบงานช่างญวน ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 ซึ่งยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียนเสมือนเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความทุ่มเทและเสียสละของอาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด ในการที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมในบ้านเกิดของตนเองให้กับลูกหลานได้รับรู้ โดยใช้เวลาสะสมวัตถุต่าง ๆ ยาวนานกว่า 50 ปี ภายในพิพิธภัณฑ์ชั้นบนมีการจัดการแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ของชาวอีสานตามประวัติศาสตร์บ้านเชียงเหียน และวัตถุอื่น ๆ เช่น กะโหลก เขาควายชั้นล่างจัดแสดงผลงานศิลปะของอาจารย์หมั่น คำสะอาด และผลงานของศิลปิน นิสิต นักศึกษา
ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ใช้ภาษาอีสานหรือภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร
ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านเชียงเหียน การเป็นเมืองโบราณที่สำคัญทำให้ชุมชนมีชื่อเสียงและมีผู้คนรู้จักมาก โดยเฉพาะวงวิชาการที่มีความสนใจศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นยังศึกษาเรื่องราวอื่น ๆ อีกหลากหลายด้าน ทำให้ชุมชนแห่งนี้เปรียบเสมือนครูของคนในชุมชนและผู้สนใจ
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2548). เหล็ก "โลหปฏิวัติ" เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว ยุคเหล็กในประเทศไทย : พัฒนาการทางเทคโนโลยีและสังคม. กรุงเทพฯ : มติชน
สมพร นาคนชม. (2540). เครื่องมือในการทำนาของชาวบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา(เน้นมนุษยศาสตร์).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชูศักดิ์ ศุกรนันท์. (2547). ภูมิปัญญาไทยอีสานในวรรณกรรมหมู่บ้านเชียงเหียน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.