Advance search

บ้านปกาเกอะญอ

ชุมชนชาติพันธุ์ ที่มีวิถีการทอผ้า ที่ทอขึ้นเอง เป็นผ้าทอของชนเผ่า ปกาเกอะญอ ทอด้วยเครื่องมือที่ทำจากธรรมชาติ ทำขึ้นเองและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและเป็นเอกลักษณ์เด่นของชนชาวเผ่าปกาเกอะญอ

5
บ้านห้วยหยวก
บ้านแก่ง
ศรีสัชนาลัย
สุโขทัย
เปมิกา คันธะโน
18 พ.ค. 2023
จีรภัทร นาจรัส
30 พ.ค. 2023
สุดารัตน์ ศรีอุบล
7 เม.ย. 2024
บ้านห้วยหยวก
บ้านปกาเกอะญอ

ในอดีตเมื่ออพยพมาแถวที่ตั้งหมู่บ้านมีกล้วยป่าหรือเรียกกัน อีกชื่อหนึ่งว่ากล้วยแคระ มีเยอะมากก็เลยตั้งชื่อ หมู่บ้านว่า หมู่บ้านห้วยหยวก


ชุมชนชาติพันธุ์ ที่มีวิถีการทอผ้า ที่ทอขึ้นเอง เป็นผ้าทอของชนเผ่า ปกาเกอะญอ ทอด้วยเครื่องมือที่ทำจากธรรมชาติ ทำขึ้นเองและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและเป็นเอกลักษณ์เด่นของชนชาวเผ่าปกาเกอะญอ

บ้านห้วยหยวก
5
บ้านแก่ง
ศรีสัชนาลัย
สุโขทัย
64130
17.58642925
99.52054247
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง

กะเหรี่ยงห้วยหยวก ชาติพันธุ์ที่มีภูมิปัญญาในด้านการทอผ้าได้สวยงาม ไม่แพ้ใคร ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80  ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอนราชบุรี ลำปาง ลำพูน สุโขทัย สุพรรณบุรี และอุทัยธานี คำว่า กะเหรี่ยง กะเร็น สันนิษฐานว่า มาจากภาษามอญที่ใช้เรียก ชาวปกาเกอะญอ (ส่วนมากเป็นกะเหรี่ยงพุทธ) โดยออกเสียงว่า เกรียง หรือ เกรียน แปลว่า เรียบ ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า ปกาเกอะญอ ซึ่งแปลว่า คนที่มีชีวิตเรียบง่ายสมถะ ในภาษาไทย ใช้คำว่า เกรียง เป็นชื่อเครื่องมือช่างปูนที่ใช้ในการฉาบผิวให้เรียบ และ เกรียน คือ ลักษณะของการตัดผมอย่างสั้นเรียบง่าย และอาจมีความเชื่อมโยงกับ ชื่อกลุ่มผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานที่มีอยู่ใน ธิเบต เนปาล ที่เรียกว่า กะยูปา หรือ ปากะญู ซึ่งมักแต่งกายด้วยชุดสีขาว และมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ซึ่งความเชื่อนี้อาจแพร่หลายเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อกว่าพันปีก่อน กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ

สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด

โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน

ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน

บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดูน้อยลง 

หมู่บ้านห้วยหยวกเป็นชุมชน ที่ก่อตั้งมา มากกว่า 100 ปี ตามที่ได้รับข้อมูล จากผู้เฒ่าในหมู่บ้าน ข้อมูลจากตาสุขซอย ค้างคีรี อายุ 87 ปี ตาเล่าให้ฟังว่าแม่ของตาอพยพ มาอยู่ที่บ้านป่าคา ตั้งแต่ยังวัยรุ่น และอพยพเข้ามาในหมู่บ้านห้วยหยวกและได้ แต่งงาน และก็มี ตาสุข ซอย และมีพี่น้อง 3 คน ที่อพยพไปอยู่หมู่บ้านแม่สาน และหมู่บ้านแม่วังช้าง ต.เวียงมอก อ.เถิน  จ.ลำปาง ในตอนนั้นยังไม่มี ถนนต้องเดินเท้า และไม่มีทางรถ ต่อมาชาวเขาปกาเกอะญอ ได้ ต้อนรับเสด็จ พระองค์ เจ้าวิภาวดีรังสิตทรงเสด็จเยี่ยมเยือนประชาชน พระองค์ทรงประทับ เฮลิคอปเตอร์ เพราะไม่มีทางรถ ต่อมาก็ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนบ้านห้วยหยวกในปีพ.ศ 2416 ขึ้น และเริ่มมีการทำถนนเข้ามาในหมู่บ้าน ชาวปกาเกอะญอ มีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยง ที่ออกเสียงยาก ในสมัยบรรพบุรุษ ของชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยง ได้เข้าเฝ้า และขอพระราชทานชื่อสกุล ว่าค้างคีรี เพราะ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง สมัยนั้นถูกข่มเหง ด้วยกลุ่มคอมมิวนิสต์ จึงได้อพยพเข้ามาตามป่า เขา ต่อมามีการขึ้นสำมะโนครัวเรือน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประทาน นามสกุล ค้างคีรี ให้กับหมู่บ้านห้วยหยวกและบ้านแม่สาน หมู่บ้านห้วยหยวกและหมู่บ้านแม่สานเป็นเครือญาติกันทั้ง 2 หมู่บ้าน ชาวเขา ปกาเกอะญอ เป็นผู้รับความสงบและชอบอยู่กับธรรมชาติป่าไม้ ด้วยการทำไร่ ที่เรียกว่าเข้าดอย และ ทำนา

บ้านห้วยหยวก เดิมที่ชาวกะเหรี่ยงที่มาอาศัย ที่บ้านห้วยหยวกนี้ได้อพยพมาจากจังหวัดลำพูน และเนื่องจากถูกรุกรานประกอบกับชาวกะเหรี่ยงเป็นผู้รักสงบจึงอพยพมาที่บ้านปากคะยาง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ยาง” (บ้านของยาง) และได้อพยพมาอยู่ที่บ้านห้วยมะนาว จนถึงบ้านป่าคาตามคำบอกเล่าจากบรรพบุรุษได้กล่าวว่าถูกคนเมืองรุกรานมาเป็นโจร ผู้ร้าย ปล้นวัวควาย ของชาวกะเหรี่ยงมีการรุกรานพื้นที่ ชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านป่าคา โดยนำเอา ยาเบือใส่บ่อน้ำของหมู่บ้านให้กะเหรี่ยงกิน กะเหรี่ยงตายกันเป็นเบือ จากนั้นได้อพยพมาที่บ้านห้วยหยวก และตั้งถิ่นฐานที่นี่ ได้ประมาณ ๑๐๐ ปี จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2516 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนบ้านห้วยหยวกขึ้นโดยการสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกัน และปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) ซึ่งมีพลเอกสายหยุด เกิดผล เป็นผู้อำนวยการในวงเงิน 10,000 บาท ในขณะนั้นได้มีนายสุรชัย แช่ด่าน กับนางกุลหญิง  แซ่ด่าน(พิพัฒน์ศิริศักดิ์) สามีภรรยาอาสาสมัครของมูลนิธิโกมลคีมทอง โดยมีนายวิโรจน์ ขนาดนิตย์ เป็นครูใหญ่ และนายมานะ คราพันธุ์ เป็นครูคนแรก บริเวณด้านหลังโรงเรียนจะมีอศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหยวก ชาวบ้านจะใช้เป็นที่ประกอบ

บ้านห้วยหยวกห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย ประมาณ 54 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวจังหวัดสุโขทัย เดินทางไปตามเส้นทาง สวรรคโลก-ศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 68 กิโลเมตร แล้วเดินทางไปตามถนนสายอำเภอศรีสัชนาลัย-บ้านแก่ง-ห้วยหยวก ใช้ถนนหมายเลข 1294 ระยะทางประมาณ 35.4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 57 นาที ซึ่งสามารถเดินทางได้ โดยรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ส่วนบุคคล ได้อย่างสะดวก

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ  เขตป่าสงวน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ  เขตหมู่บ้านป่าคา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ   เขตป่าสงวน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ   เขตอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

พื้นที่ชุมชนบ้านห้วยหยวกเป็นพื้นที่ภูเขาเป็นส่วนใหญ่ บริเวณตอนบนของหมู่บ้านห้วยหยวกเป็นที่ตั้งของลานกางเต็นท์หน่วยศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำห้วยท่าแพ ชุมชนชาวบ้านห้วยหยวกส่วนใหญ่ทำการเกษตรปัจจุบันเป็นเกษตรผสมผสาน เช่น นาข้าว ไร่ข้าว สวนผลไม้ ส่วนผสม และพืชเศรษฐกิจคือ ยางพารา และกาแฟเป็นต้น และมีชาวบ้านบางส่วนที่มีสัตว์เลี้ยงเช่น วัว ควาย ไก่ และ หมู ผลกระทบส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภัยแล้งชุมชนสามารถทำนาได้ปีละหนึ่งครั้ง ทำนาไว้เพื่อบริโภคอย่างเดียวได้ ทางตอนใต้ของหมู่บ้านก็จะเป็นพี่น้องชาวไทยอาศัยอยู่

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรชุมชนบ้านห้วยหยวก จำนวน 98 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 297 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 143 คน หญิง 154 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และคนไทยอาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายที่มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกันและกัน

ปกาเกอะญอ

ผู้คนในหมู่บ้านห้วยหยวก มีการรวมกลุ่มเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

กลุ่มที่เป็นทางการ

กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านห้วยหยวก  เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายให้สมาชิกในกลุ่มเรียนรู้การทอผ้ากี่เอว มีลวดลาย การทอที่แฝงคติความเชื่อ เรื่องเล่า คำสอนพิธีกรรม และวิถีชีวิต เพื่อจำหน่าย และเป็นอาชีพ      ในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 32 คน

กลุ่มกาแฟตามรอยเสด็จ  เป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายให้สมาชิกในกลุ่มได้มีอาชีพเสริมหลังจากหมดฤดูกาลทำนา ในพื้นที่บ้านห้วยหยวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง เป็นเขา กลุ่มคนไทยที่ได้แต่งงานกับชาวปกาเกอะญอได้เป็นคนคิดนำพันธุ์ กล้ากาแฟ สายพันธ์ อราบีก้า และโรบัสต้า เข้ามาปลูกซึ่งทำให้ได้ผลผลิตดี ทำให้ตั้งกลุ่มผลิตกาแฟนี้ขึ้นมา โดยรับซื้อเม็ดกาแฟดิบ มีสมาชิก  35 ครัวเรือน

กลุ่มไม่เป็นทางการ

กลุ่มศรัทธาวัด ในชุมชนมี อาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยหยวก ปัจจุบันชาวปกาเกอะญอ ใช้เป็นสถานที่ ศูนย์รวมจิตใจ และเป็น วัดที่ชาวบ้านห้วยหยวกในอดีตจนถึงปัจจุบันได้ทุ่มเทกำลังกายและทรัพย์สินเงินทองและภูมิปัญญาที่ช่วยการสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นสถานที่ประกอบกิจธุระสงฆ์

กลุ่มอาชีพ คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ การทำการเกษตรส่วนใหญ่ ไถนา ดำนาปลูกข้าว ปลูกถั่ว เหลือง หรือปลูกข้าวโพด ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกกาแฟ จะมีการลงแขกช่วยเหลือกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการ ผลิต การไถหว่าน การดำนา จนถึงขั้นตอน สุดท้ายของการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บเกี่ยว ผลผลิตก็จะแบ่งปันพี่น้องส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือ เก็บไว้ใน ยุ้งฉาง เพื่อกินและเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูกในปีถัดไป ส่วนมันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ก็จะนำไปจำหน่าย เพื่อเป็นรายได้ในครอบครัว ของแต่ละครัวเรือน ในปัจจุบันคนในชุมชนได้ออกไปทำงานในเมืองมากขึ้นเช่น รับจ้างทั่วไป ทำงานโรงงาน 

ในรอบปีของชนเผ่าปกาเกอะญอ จะมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะโดดเด่นดังตอไปนี้วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

วันสงกรานต์ ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันในช่วง ก่อนวันสงกรานต์ 1-2 วันจะเป็นวัน สังขารล่อง     เขาจะจุดประทัดยิงปืนเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 13 เมษายน วันที่ 14 เมษายน เป็นวันห่อดาทำขนม วันที่ 15 เมษายน เรียกว่าวันพญาวัน ในเช้าวันที่ 15 ที่ชุมชนจะรวมตัวกันรดน้ำดำหัวให้กับญาติผู้ใหญ่ของแต่ละครัวเรือนมีการลำซอและการฟ้อน และการเป่าเขาสัตว์ ปัจจุบันการเป่าเขาสัตว์ไม่มีแล้ว ช่วง บ่าย มีการแห่ ข้าวทานต้น  ก็จะมีขนม ต่างๆกระเทียมพริกสิ่งของทุกอย่างที่ใช้ในครัวเรือน เป็นการให้ทาน ที่ในแต่ละครัวเรือนจะทำให้กับบรรพบุรุษ ของตนเอง กลางคืน มีการซอเจดีย์ทราย ชาวกะเหรี่ยงจะจัดประเพณีเวียนเจดีย์ก่อทรายขึ้นในวันสงกรานต์ ในวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี (วันปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อว่า จะได้บุญจากเทวดาจะมีการใช้ไม้ไผ่ที่สับฟากนำมาวนและประดับด้วยตุงที่ช่วยกันทอขึ้น ชาวบ้านจะช่วยกันขนทรายมาเทกองเป็นเจดีย์ แล้วขอขมาเจ้าป่า พระแม่ธรณีในตอนกลางคืนจะมีการเล่นดนตรี กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ เดินรอบเจดีย์ทราย 3 รอบและผู้ซอเริ่มขับร้องซอเพื่อขอ ให้ฝนตก พืชผักอุดมสมบูรณ์ ในบริเวณรอบเจดีย์ทราย ในวันนั้นประชาชนจะแต่งตัวประจำถิ่นไปเข้าร่วมกิจกรรม

การประกอบอาชีพของชุมชนชาวเผ่า ปกาเกอะญอ  เป็นการทำเกษตรส่วนใหญ่ ได้แก่ ทำนาปี ทำไร่ ทำสวน ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าวโพด ปลูกถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจมียางพารา ทุเรียน กาแฟตามรอยเสด็จและเลี้ยงสัตว์ และมีกลุ่มสตรีทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านห้วยหยวก

 1) คุณตาสุขซอย ค้างคีรี อายุ  87 ปี และ คุณตาแก้ว ค้างคีรี  อายุ 80 ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญการ จักรสานทุกชนิดและทำเครื่องมือ ด้วยไม้ ด้ายหวาย หรือเครื่องมือการทำการเกษตร ต่างๆ เช่น กระโด้ง ขันโต๊ะ ฝักมืด และเก้าอี้หวาย ฯลฯ

2) นางแก้ว  ค้างคีรี และ นางสุขมา  ค้างคีรี เป็นผู้สอน การทอผ้ากี่เอวการปั่นด้ายและเป็นวิทยากร ผู้สอน การทอผ้าขึ้นได้ทำลายผ้า เช่น ลายจก ลายยกดอก ลายคลื่น และ ทอผ้ากะเหรี่ยงลายโบราณต่าง ๆ กลุ่มผู้เฒ่า ในชุมชน ได้ส่งต่อเรื่องราวของการ เลี้ยงผีบรรพบุรุษ มีความสำคัญที่สุดของชนเผ่า ปกาเกอะญอ ที่ส่งต่อลูกหลาน รุ่นต่อๆไป แต่ละบ้านจะมีบ้านที่เลี้ยงผีทุกหลังคา เพราะเป็นการเลี้ยงผีในครอบครัว วิธีการคือถ้าในบ้านนั้นมีคน เกิด ป่วย หรือว่าต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จ ก็จะมีการบอกให้ ผีบ้านได้รับรู้ และให้ช่วยคนในบ้านให้ดีขึ้น ให้ประสบผลสำเร็จนั้น พอคนในบ้านประสบผลสำเร็จ ตามที่ได้บอกผีบ้านให้ช่วยนั้น ก็จะมีการนำของไปเลี้ยงผีบ้าน ของที่นำไปเลี้ยง ก็จะเป็น ข้าวหม้อแกงหม้อ จากนั้นก็ให้พี่น้องและเครือญาติที่มาเลี้ยงผีกินข้าวและแกงที่นำมาเลี้ยงผีคนละช้อน จากนักก็เสร็จพิธีการเลี้ยงผี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าพระพุทธศาสนานั้นอยู่สูงกว่าเรื่องผีทั้งปวงด้วยเช่นกัน

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น  

การทอตุงประดับเจดีย์ทราย  คือการทอผ้ากี่เอว ด้วยวิถีธรรมชาติที่ทำขึ้นเองและมีการรวมตัวในการทอตุงเพื่อนำมาประดับเจดีย์ทราย ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชนชาวเผ่าปกาเกอะญอที่จะทำร่วมกันด้วยลายผ้าโบราณและร่วมสมัยในปัจจุบันที่ชุมชนร่วมใจกันทำขึ้นในแต่ละปี ที่เป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของท้องถิ่น ฃ

อาหาร

ชาวปกาเกอะญอ นิยมรับประทานอาหารประเภทแกง และวัตถุดิบที่ได้มาจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็นอาหารคาวและหวาน โดยมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และนับเป็นภูมิปัญญาด้านอาหารที่สืบทอดกันมา เช่น แกงข้าวเปอะ  มีรสชาติกลมกล่อม มีส่วนประกอบคือ ข้าวเหนียว หน่อไม้ และผักต่างๆที่มี นำมาแกงรวมกันในหม้อเดียวก็สามารถทานได้เลย โดยไม่ต้องกินข้าวเพราะในแกงนั้นมีข้าวรวมอยู่ด้วย ที่มาของแกงข้าวเปอะ คือ สมัยก่อนมีข้าวสารนิดหน่อย แต่ละครัวเรือนจะมีลูกเยอะ ประกอบกับครอบครัวยากจน เมนูแกงข้าวเปอะจึงเป็นที่นิยมมาก      

หลามข้าว คือนำข้าวมาใส่ในกระปอกไม้ไผ่ แล้วนำไปเผาในกองฝืน ใช้เผาแบบไฟอ่อนๆ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ก็จะได้ข้าวที่หอม นิ่ม น่ารับประทานและมีข้าวต้มห่อใบดอกไม้กวาด หรือเลือกว่าข้าวต้ม     เขาควาย ส่วนประกอบก็มีข้าวเหนียว กากมะพร้าว เกลือ นำมาเคล้าเข้ากับแล้วนำ ใบดอกไม้กวดมาห่อ มัดด้วยตอก    ที่ทำจากไม้ไผ่ จากนั้นนำไปต้มประมาณ 20-30 นาที ก็จะได้ข้าวต้มมัดที่อร่อยที่สุด ผักงอต้ม หรือผักน้ำพริกแกงเหลือง แกงหมูป่า หลามบอล และอีกมากมายที่ได้จากธรรมชาติ หรือมีงานสำคัญทางศาสนา และประเพณี ที่มี พิธีการ ขั้นตอน และรูปแบบในการทำที่เฉพาะ โดยมี ผู้รู้ที่ทำเป็นของชุมชนมาช่วยทำให้แก่ครัวเรือนที่ประกอบพิธีกรรมการแต่งกาย ผู้ชาย ปกาเกอะญอ จะนุ่งโสร่ง และเสื้อที่ทอขึ้น ผู้ชายจะใส่สีแดง ส่วนผู้หญิงจะนุ่ง ผ้าถุง กรอบเท้า และเสื้อ เข้าชุดที่ทอขึ้น ผู้หญิงใส่ สีน้ำเงินแดงสลับลายที่สวยงามและเด็กสาวจะใช้ชุดสีขาวเด็กชายจะใส่ชุดสีแดง ปัจจุบันการทอผ้ายังมีการทอไว้ใช้และจำหน่ายอยู่ในหมู่บ้าน

ภาษาในกลุ่มนั้นจะมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเองโดยดัดแปลงมาจากภาษาพม่าและภาษาโรมัน จะมีการใช้ภาษาในครอบครัวซึ่งเป็นภาษากะเหรี่ยงในการสนทนาในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ทำการอย่างสม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบันเมื่อเด็กและเยาวชนในชุมชนได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนและการติดต่อสื่อสารกับสังคมภายนอกที่ต้องใช้ภาษาไทยกลาง ในการสื่อสารมากขึ้นทำให้ภาษาพูดกะเหรี่ยงในชุมชนที่เป็นการพูดระหว่างครอบครัวนั้นลดน้อยลงและภาษาเขียน ที่ยังมีการใช้ภาษานั้นส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เหลือไม่กี่คนและไม่มีใครสืบทอดต่อ


  • ปัจจุบันได้มีหน่วยงานทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในการก่อตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้ากะเหรี่ยง มีสมาชิก 32 คน กลุ่มยางพาราและกลุ่มกาแฟตามรอยเสด็จ 30 คน และมีกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเงินล้านที่ทางภาครัฐให้ผู้คนในชุมชนเข้าถึงกองทุนในการส่งเสริม อาชีพ มีกองทุน กลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าและกองทุนกลุ่มกาแฟตามรอยเสด็จ ของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นและทางภาครัฐส่งเสริมในการดำเนินเรื่องในการขอยื่นขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเป็นเกษตรแปลงใหญ่เพื่อผลประโยชน์ให้กับสมาชิกกลุ่มชุมชนต่อไป ชุมชนหมู่บ้านห้วยหยวกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัยและเขตป่าสงวนแห่งชาติ

  • ในอดีตคนในสังคมมีการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายทำให้เกิดการเรียนรู้พิธีกรรมต่างๆ ให้ สมาชิกรุ่นใหม่ได้เรียนรู้จากการถ่ายทอดของคนในครัวเรือน ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนาไปสู่ความทันสมัย เกิดการเคลื่อนย้ายการใช้ชีวิต ในการไปศึกษาต่อ และไปอยู่นอกชุมชน ทำให้การประกอบอาชีพและการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม จึงทำให้มีการส่งต่อโดยตรงของระบบวัฒนธรรม จากเดิมที่นับถือผีบรรพบุรุษที่เสื่อมคลายลงเนื่องจากลูกหลานที่ไปทำงานต่างพื้นที่ ไม่เข้าร่วมพิธีกรรมในการเลี้ยงผีบรรพบุรุษแต่ให้ญาติที่อยู่ในชุมชนดำเนินการแทน ทำให้เห็นว่า การเลี้ยงผีบรรพบุรุษนั้นห่างหายไปเรื่อยๆ

  • การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ของผู้คนในชุมชน คนในชุมชนมีการสร้างบ้านแบบสมัยใหม่ที่ไม่เอื้อต่อการ แบ่งแยกพื้นที่ระหว่างผีกับคน หรือระบบความคิดของคนรุ่นใหม่ในสังคมส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย เนื่องจากอิทธิพลของระบบสื่อ ในมิติต่างๆ ที่มีความรวดเร็วเชื่อมโยง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อของทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่

ชนเผ่าปกาเกอะญอ  ได้ร่วมกันพัฒนาน้ำตกปากะญอ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ของหมู่บ้านแห่งนี้ ให้คงสภาพป่าที่สมบูรณ์ โดยน้ำตกปากะญอ อยู่ห่างจากหมู่บ้านห้วยหยวก ประมาณ ๔ กิโลเมตร เมื่อนักท่องเที่ยวนำรถมาจอดที่ศูนย์การเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน จะมีรถอีแต๊กของชาวบ้านไว้บริการ ไปตามทางประมาณ 3 กิโลเมตร ผ่านไร่นา สวนผลไม้ของชาวบ้าน เช่น สวนทุเรียน ลองกอง เงาะ กาแฟ จนถึงจุดจอดรถ จากนั้นเดินเท้าอีกประมาณ 1200 เมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตก

สำหรับน้ำตกแห่งนี้ เป็นน้ำตกที่ลดหลั่นความสูงลงมาต่างระดับกัน เป็นชั้นๆ มีทั้งหมด 15 ชั้น แต่ละชั้นจะมีความสวยงามแตกต่างกัน มีแอ่งน้ำใสสะอาด ให้ลงเล่นน้ำได้ มีน้ำตลอดทั้งปี เนื่องจากน้ำตกแห่งนี้ มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาในเขตอุทยานแห่งชาติสรีสัชนาลัย (ป่าคา) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เขียวชอุ่ม

เป็นแหล่งกำเนิดลำธารที่ไหลผ่านหมู่บ้านห้วยหยวก ชาวบ้านใช้น้ำจากลำธารนี้ในการทำการเกษตรอีกด้วยในชุมชนปกาเกอะญอ และยังมีจุดสนใจ คือลานกางเต็นท์ของหน่วยศึกษาการพัฒนาและการอนุรักษ์ ต้นน้ำห้วยท่าแพ ตั้งอยู่บริเวณตอนบนของหมู่บ้านห้วยหยวก

โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์. (2562). วิถีชุมชนเครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. พิมพ์ครั้งที่ 13. กทมฯ: สำนักพิมพ์สุขศาลา. 

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย. (2564). ท่องเที่ยวชุมชนกะเหรื่ยงสุโขทัย.

นายสีมา  ค้างคีรี และนางสิริกร  ค้างคีรี. (2566). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5, 9, 18 มิถุนายน 2566