Advance search

หมู่บ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 มีการแบ่งส่วนการปกครองในหมู่บ้านแบบหมวดมื้อ (ป๊อก) มี 11 ป๊อกส่วนใหญ่มี อสม.ทำหน้าที่ในการดูแล เพื่อเป็นการแบ่งความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม หรือตามประเพณีต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน

หมู่ 9
บ้านป่าห้า
ออนใต้
สันกำแพง
เชียงใหม่
วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-6198-6902, เทศบาลออนใต้ โทร. 0-5303-6043
กัญนิภา ทรายแก้ว
20 ธ.ค. 2020
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
3 พ.ค. 2023
พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน
22 เม.ย. 2023
บ้านป่าห้า

ประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา พื้นที่นี้จะเรียกว่า "ป๋างห้า" (ป๋าง เป็นภาษาเหนือ ภาษากลางเรียกว่า "ปาง" หมายถึง ที่พักสัตว์ เช่น ปางช้างแม่สา ปางช้างแม่ตะมาน) เนื่องจากพ่อค้าจะนำสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย มาพักและค้างคืนที่บริเวณป่าแห่งนี้ก่อนนำไปขายประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สัตว์ต่าง ๆ ได้พักและกินหญ้า เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มีทั้งแหล่งน้ำและอาหารสำหรับสัตว์ ในอดีตพื้นที่นี้เป็นจุดนัดพบระหว่างบรรดาพ่อค้าสัตว์

ต่อมาได้มีพ่อหนานชมพู และแม่หลวงดา บุญมาคำ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้นำและบรรพบุรุษของที่นี่ พร้อมด้วยชาวบ้านประมาณไม่เกิน 20 หลังคาเรือน ได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากสุโข สาเหตุที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมา เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างพม่ากับไทยจึงได้อพยพมาอยู่พื้นที่นี้ และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านป่าห้า" เนื่องจากพื้นที่นี้เต็มไปด้วยต้นไม้ห้า (ต้นลูกหว้า) จนถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

หมู่บ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 มีการแบ่งส่วนการปกครองในหมู่บ้านแบบหมวดมื้อ (ป๊อก) มี 11 ป๊อกส่วนใหญ่มี อสม.ทำหน้าที่ในการดูแล เพื่อเป็นการแบ่งความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม หรือตามประเพณีต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน

บ้านป่าห้า
หมู่ 9
ออนใต้
สันกำแพง
เชียงใหม่
50130
18.72493
99.19817
เทศบาลตำบลออนใต้

ประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา พื้นที่นี้จะเรียกว่า "ป๋างห้า" (ป๋าง เป็นภาษาเหนือ ภาษากลางเรียกว่า "ปาง" หมายถึง ที่พักสัตว์ เช่น ปางช้างแม่สา ปางช้างแม่ตะมาน) เนื่องจากพ่อค้าจะนำสัตว์ต่างๆ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ควาย มาพักและค้างคืนที่บริเวณป่าแห่งนี้ก่อนนำไปขายประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สัตว์ต่าง ๆ ได้พักและกินหญ้า เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มีทั้งแหล่งน้ำและอาหารสำหรับสัตว์ ในอดีตพื้นที่นี้เป็นจุดนัดพบระหว่างบรรดาพ่อค้าสัตว์

ต่อมาได้มีพ่อหนานชมพู และแม่หลวงดา บุญมาคำ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้นำและบรรพบุรุษของที่นี่ พร้อมด้วยชาวบ้านประมาณไม่เกิน 20 หลังคาเรือน ได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากสุโข สาเหตุที่อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมา เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างพม่ากับไทยจึงได้อพยพมาอยู่พื้นที่นี้ และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านป่าห้า" เนื่องจากพื้นที่นี้เต็มไปด้วยต้นไม้ห้า (ต้นลูกหว้า) จนถึงปัจจุบัน

ด้านสาธารณูปโภคสมัยก่อนนั้น ยังไม่มีไฟฟ้า ชาวบ้านจะใช้เทียนหรือตะเกียงแทนไฟฟ้า ต่อมาในปี พ.ศ.2526 หมู่บ้านเริ่มมีไฟฟ้าใช้ สำหรับน้ำในการอุปโภค และบริโภคในสมัยก่อน ชาวบ้านจะใช้น้ำจากน้ำบ่อในการอุปโภค บริโภค และในปี พ.ศ. 2536 เริ่มมีการเจาะประปาหมู่บ้าน เรียกว่า “ประปาห้วยจุมปี” ชาวบ้านบางส่วนยังใช้น้ำบ่อในการอุปโภค บริโภค

ด้านเศรษฐกิจในสมัยก่อนบริเวณรอบหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนา ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนา ปลูกต้นยาสูบ เลี้ยงวัวและเลี้ยงควาย เพื่อใช้ในการทำนา จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการทำนา และปลูกต้นยาสูบ ส่วนการเลี้ยงวัวและเลี้ยงควาย ปัจจุบันไม่นิยมเลี้ยง เนื่องจากไม่มีเงินในการลงทุน

ด้านสาธารณสุขสมัยก่อนในหมู่บ้านไม่มีคลินิก เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาตัวเองหรือรักษากับหมอเมือง หากมีอาการเจ็บป่วยหนักจะไปรักษาที่โรงพยาบาล ชาวบ้านบางคนไม่ได้รับการฝากครรภ์และคลอดที่บ้าน ทำคลอดโดยหมอตำแย ปัจจุบันหากมีอาการเจ็บป่วยชาวบ้านจะซื้อยามารับประทานเองหรือรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่ผาแหน ตำบลออนใต้ โรงพยาบาลแม่ออน และโรงพยาบาลสันกำแพง

ด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยก่อนมีกำนันคนแรกคือ นายเขียว ใจติขะ เป็นคนดูแลทั้งหมดของหมู่บ้าน สารวัตรกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายตา อินตายวง ผู้ช่วยกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายวิไล อินตายวง สารวัตรกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายสม กันติฟอง และผู้ช่วยกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายแก้ว กันธะพรหม เมื่อปี พ.ศ.2531 มีการเลือกตั้งกำนันคนที่สอง คือ นายอินทรถา กันธะพรหม สารวัตรกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายทอง บุญมาคำ ผู้ช่วยกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายวิไล อินตายวง สารวัตรกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายอุ่นเรือน ภิระตา และผู้ช่วยกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายแก้ว กันธะพรหม ต่อมามีผู้ใหญ่คนแรก คือ นายอานนท์ รัตนสมลาภ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 5 ปี มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คือ นายสมศักดิ์ คุ้มนานนท์ และนางจิราพร กองราพงษ์ ผู้ใหญ่คนที่สอง คือ นายสว่าง แปงหลวง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อบ้านริมออนใต้ หมู่ที่ 5 และบ้านริมออน หมู่ที่ 3 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับภูเขาและตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านป่าตึง หมู่ที่ 7 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านป่าแงะ หมู่ที่ 4 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง

สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านป่าห้า เป็นที่ราบลุ่ม มีภูมิอากาศเย็นสบายในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีอากาศร้อนในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน

ข้อมูลประกอบไปด้วย ครัวเรือนอาศัยอยู่จำนวน 87 ครัวเรือน ประชากรเพศชาย จำนวน 139 คน ประชากรเพศหญิง จำนวน 156 คน รวม 295 คน

จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรชุมชน พบว่าโครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กรในชุมชนเป็นกลุ่มที่จัดตั้งจากคำสั่งทางราชการ และมาจากการจัดตั้งของคนในชุมชน

องค์กรที่เป็นทางการ

  • กลุ่มผู้นำ
  • กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)

องค์กรที่ไม่เป็นทางการ

  • กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการป่าชุมชน
  • กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
  • กองทุนบทบาทพัฒนาสตรี
  • กลุ่มปุ๋ยหมู่บ้าน
  • กลุ่มสัจจะออมทรัพย์
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • ร้านค้าชุมชน
  • กลุ่มประปาหมู่บ้าน
  • กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์

ปฏิทินกิจกรรมชุมชน

รายละเอียดกิจกรรมชุมชนบ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนรายละเอียดของกิจกรรม
เกษตรทุกเดือนเนื่องจากหมู่บ้านป่าห้าเป็นสังคมชนบท ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่ได้ทำการเกษตรเพาะปลูกข้าว ทำสวนลำไย ปลูกพืชผักทางการเกษตร
ค้าขาย, ธุรกิจส่วนตัว, รับราชการ, รับจ้างทั่วไปทุกเดือนเนื่องจากในหมู่บ้านมีคนอาศัยอยู่จำนวนมากประชาชนในพื้นที่จึงมีการประกอบอาชีพ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ธุรกิจส่วนตัว และรับราชการ โดยทำการค้าขายตลอดปี และในช่วงเทศกาลมีหยุดหรือปิดร้านบ้าง หรือวันหยุดที่ช่วงอยากพักผ่อน
ทำบุญ สวดมนต์ทุกวันพระและวันสำคัญทุกเดือนประชาชนบ้านป่าห้าจะเดินทางทำบุญตักบาตรที่วัดทุกวันพระและวันสำคัญทางศาสนา และถ้าเป็นวันพระใหญ่ ตอนเช้าไปทำบุญตักบาตรและมีฟังเทศน์ฟังธรรม ตอนกลางคืนอาจมีงานวัดบ้างบางครั้งคราว
วันขึ้นปีใหม่มกราคมทำบุญตักบาตร สวดมนต์ โดยชาวบ้านเดินทางไปทำบุญที่วัดบ้านป่าห้า ซึ่งต่อเนื่องมาจากการสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำกันมาทุกปี
กิจกรรมวันเด็กมกราคมทุกเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมวันเด็กที่วัดป่าห้าเพื่อให้เด็กในหมู่บ้านและละแวกใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรมโดยทางกองทุนเงินล้านบ้านป่าห้าและหน่วยงานอื่น ๆ จะมาช่วยกันจัดงานและแจกของขวัญให้เด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมที่ทำกันมาทุกปี
กีฬา สานสัมพันธ์ผู้สูงอายุกุมภาพันธ์โดยการตัดแข่งขันกีฬานี้จะมีหน่วยงานเทศบาล อบต.  จัดกีฬาเชื่อมสัมพันธไมตรีของแต่ละหมู่บ้านร่วมกัน โดยมีผู้สูงอายุในการร่วมเล่นกีฬา และการละเล่นต่าง ๆ
สงกรานต์เมษายนมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อขอพรและให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระถีปีใหม่ไทย
ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทันใจพฤษภาคมทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ชาวบ้านพร้อมหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมสืบสานงานประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทันใจ ในบางปีแจกวัวแจกควายให้ชาวบ้านด้วย และในตอนกลางคืนมีงานสมโภชตลอดคืน
ประเพณีตานก๋วยสลากกันยายนจะจัดขึ้นในเดือนกันยายน เป็นประเพณีที่สำคัญอีกประเพณี ประชาชนตามหมู่บ้าน หรือวัดใกล้เคียง นำก๋วยสลากมาร่วมทำบุญช่วงเช้ามีการฟังเทศน์ เสร็จแล้วจะมีการแจกเส้นสลากโดยดำเนินการโดยคณะกรรมการวัดเป็นผู้ดำเนินการ นำเส้นสลากไปแจกให้พระ เณร และอื่นๆ ที่เหลือนำเข้าวัด
งานกฐินประจำปีตุลาคมเป็นงานทำบุญของศาสนาพุทธโดยจะจัดหลังออกพรรษาประมาณหนึ่งเดือน พิธีทอดกฐินเป็นใหญ่โดยมากจัดงาน 2 วัน โดยถ้าเป็นคณะกฐินจากกรุงเทพจะตั้งกองกฐินมา หรือจะตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการละเล่นมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา โดยมากมักจะเลี้ยงพระและทอดในตอนเช้านั้นหรือทอดตอนที่สะดวกและชาวบ้านจัดภัตราหารเลี้ยงด้วย
ประเพณีลอยกระทง (ยี่เป็ง), ประกวดกระทง, แข่งขันการทำลาบ แกงอ่อมพฤศจิกายนเป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาช้านานแล้วตอนเช้าจะมีการไปทำบุญตักบาตรที่วัดและฟังเทศน์และตอนเย็นจะมีการจุดประทีป จะมีการประกวดซุ้ม และตกแต่งกระทงซึ่งชาวบ้านได้ช่วยกันตกแต่งและมอบรางวัล ในตอนกลางคืนจะมีงานปล่อยโคมลอย จุดพลุ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่ต่อไป
สำรวจร้านชำ โดย รพ.สต. ร่วมกับ รพช.มีนาคมการสำรวจโดยมอบหมายให้ อ.ส.ม. ไปเก็บผักตัวอย่างมาตรวจหายาฆ่าแมลงและตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร
รณรงค์ต่อต้านลูกน้ำยุงลาย ชุมชนร่วมกับ รพ.สต.พฤษภาคม-สิงหาคมมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน มีการกำจัดลูกน้ำยุงลายแจกทรายอะเบทและคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง และพ่นยาไล่ยุง มีการประชาสัมพันธ์ถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกให้ประชาชนตระหนักถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
คัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกกรกฎาคม-สิงหาคมกลุ่ม อ.ส.ม. ไปคัดกรองมะเร้งเต้านม ทุกบ้าน และมะเร็งปากมดลูกจะมารับการตรวจที่ รพ.สต.
ตรวจคัดกรองสุขภาพพฤศจิกายนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป มีการวัดความดันโลหิตและตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ศาลาบ้านป่าห้า หมู่ที่ 9
ประชุม อสม. ร่วมกับ รพ.สต.ทุกเดือนมีการประชุมสมาชิก อ.ส.ม. จะประชุมเรื่องเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพชุมชนโดย อ.ส.ม. แต่ละด้าน เช่นด้านจิตเวช  ด้านความดันโลหิตสูง เบาหวาน  เป็นต้น
เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงและหญิงหลังคลอดทุกเดือนมีการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงและหญิงหลังคลอดทุกเดือนหรือเมื่อมีเด็กแรกเกิด เดือนละ 4-5 ครั้ง โดย อ.ส.ม.ทุกคนจะแบ่งพื้นที่การดูแล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นไปอย่างทั่วถึง

1. นายสว่าง แปงหลวง

ตำแหน่ง : ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

การศึกษา : ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) ปริญญาตรี

นายสว่าง แปงหลวง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านป่าห้า ตำบลออนใต้ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2508 อายุ 55 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 44/3 บ้านป่าห้า หมู่ที่ 9 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นายสว่าง แปงหลวง เป็นบุตรของนายอิน แปงหลวง และนางก๊อง โปธิตา มีพี่น้องจำนวน 3 คน โดยนายสว่าง แปงหลวง เป็นน้อง และมีพี่คือ นางนงลักษณ์ อินตายวง, นางสุพรรณ ใจสุ และเพ็ญศรี หน่อคำ

เมื่อปี 2515 ได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดแม่ผาแหน อำเภอสันกำแพง จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2521 ได้ไปเป็นทหาร 2 ปี อยู่ที่กองพันสัตว์ต่าง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากออกมาทหารมาก็ได้ ศึกษาต่อที่การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามตอัธยาศัยหรือ กศน. ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากสำเร็จการศึกษาได้ไม่นานได้ไปทำงานรับจ้างทั่วไป ปี 2526 ได้พบรักและใช้ชีวิตคู่กับนางยวงใย แปงหลวง ทั้งคู่ช่วยกันทำมาหากิน และได้มีบุตร ด้วยกัน 2 คน คือ นายวรวุฒิ แปงหลวง และนายกฤษณะ แปงหลวง ปัจจุบันบุตรชายคนแรกทำงานฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างที่สนามกอล์ฟ บุตรชายคนที่สองทำงานที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และในปี 2554 ได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในคณะรัฐศาสตร์การปกครอง ที่มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา หลังจากสำเร็จการศึกษาได้เข้าทำงานเทศบาล 16 ปี ในตำแหน่ง คนงานทั่วไป, ธุรการ, งานช่าง, ผู้ช่วยงานช่างแขวงนครพิงค์ เทศบาลนครเชียงใหม่ จนถึงปี 2550 ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน จนถึงปัจจุบัน และเป็นระยะเวลา 13 ปี ยังคงทำหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ ชาวบ้านต่างชื่นชอบในการทำงานของนายสว่าง แปงหลวง เพราะเป็นคนที่อัธยาศัยดี ทำงานเก่ง ช่วยเหลือชาวบ้านโดยการจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านป่าห้า ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และท่านจะทำการกระจายงานให้แก่บุคคลอื่น ๆ ตามความถนัดและความเหมาะสมในหน้าที่ โดยรับฟังความเห็นของทุก ๆ คน ทุก ๆ ฝ่ายในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานจากหลาย ๆ ฝ่าย จากการวางแผนในการทำงานแต่ละครั้ง ท่านจะเน้นการทำงานแบบโปร่งใส เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและไม่คดโกงชาวบ้าน ตลอดการทำงานท่านไม่ได้คาดหวังเงินทองจากการทำงาน ไม่ได้หวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตน แต่นึกถึงผลประโยชน์โดยรวมที่ชาวบ้านจะได้รับ ทำงานด้วยความเป็นธรรมตามปณิธานของตัวท่านเอง จนถึงปัจจุบัน

คติในการดำเนินชีวิต : หลักในการใช้ชีวิตของนายสว่าง แปงหลวง คือ “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด” และหลักในการทำงานของนายสว่าง แปงหลวง เพื่อชาวบ้านจะรับฟังความเห็นของทุก ๆ คน ทุก ๆ ฝ่ายในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสามัคคีในการทำงานจากหลาย ๆ ฝ่าย จากการวางแผนในการทำงานแต่ละครั้ง ท่านจะเน้นการทำงานแบบโปร่งใส เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและไม่คดโกงชาวบ้านในหมู่บ้าน

ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ที่สามารถใช้งานได้ ประกอบด้วย

  • ลำน้ำ/ลำห้วย จำนวน 3 แห่ง (ลำน้ำห้วยลาน ลำน้ำแม่ผาแหน และลำน้ำออน)
  • หนอง จำนวน 3 แห่ง (หนองเก้าหมุ้น หนองน้ำลัด และหนองบ่อเก้าเปา)
  • ประปาหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง (ตั้งอยู่บริเวณห้วยจุมปี และตั้งอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน)

ประชาชนบ้านป่าห้าเป็นคนพื้นเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาพื้นเมือง, ภาษาเหนือ) ในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาหลักภายในชุมชน สำหรับการติดต่อสื่อสารทางราชการและบุคคลภายนอก จะใช้ภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นในการติดต่อสื่อสาร 


ในสมัยก่อนมีกำนันคนแรกคือ นายเขียว ใจติขะ เป็นคนดูแลทั้งหมดของหมู่บ้าน สารวัตรกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายตา อินตายวง ผู้ช่วยกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายวิไล อินตายวง สารวัตรกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายสม กันติฟอง และผู้ช่วยกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายแก้ว กันธะพรหม เมื่อปี พ.ศ.2531 มีการเลือกตั้งกำนันคนที่สอง คือ นายอินทรถา กันธะพรหม สารวัตรกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายทอง บุญมาคำ ผู้ช่วยกำนันฝ่ายปกครอง คือ นายวิไล อินตายวง สารวัตรกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายอุ่นเรือน ภิระตา และผู้ช่วยกำนันฝ่ายป้องกัน คือ นายแก้ว กันธะพรหม ต่อมามีผู้ใหญ่คนแรก คือ นายอานนท์ รัตนสมลาภ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน 5 ปี มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คือ นายสมศักดิ์ คุ้มนานนท์ และนางจิราพร กองราพงษ์ ผู้ใหญ่คนที่สอง คือ นายสว่าง แปงหลวง ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน


ในสมัยก่อนบริเวณรอบหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนา ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนา ปลูกต้นยาสูบ เลี้ยงวัวและเลี้ยงควาย เพื่อใช้ในการทำนา จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีการทำนาและปลูกต้นยาสูบ ส่วนการเลี้ยงวัวและเลี้ยงควาย ปัจจุบันไม่นิยมเลี้ยง เนื่องจากไม่มีเงินในการลงทุน


สมัยก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้า ชาวบ้านจะใช้เทียนหรือตะเกียงแทนไฟฟ้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 หมู่บ้านเริ่มมีไฟฟ้าใช้สำหรับน้ำในการอุปโภค และบริโภคในสมัยก่อน ชาวบ้านจะใช้น้ำจากน้ำบ่อในการอุปโภคบริโภค และในปี พ.ศ. 2536 เริ่มมีการเจาะประปาหมู่บ้าน เรียกว่า “ประปาห้วยจุมปี” ชาวบ้านบางส่วนยังใช้น้ำบ่อในการอุปโภคบริโภค


สมัยก่อนในหมู่บ้านไม่มีคลินิก เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาตัวเองหรือรักษากับหมอเมือง หากมีอาการเจ็บป่วยหนักจะไปรักษาที่โรงพยาบาล ชาวบ้านบางคนไม่ได้รับการฝากครรภ์และคลอดที่บ้าน ทำคลอดโดยหมอตำแย ปัจจุบันหากมีอาการเจ็บป่วยชาวบ้านจะซื้อยามารับประทานเองหรือรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแม่ผาแหน ตำบลออนใต้ โรงพยาบาลแม่ออน และโรงพยาบาลสันกำแพง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กัญนิภา ทรายแก้ว, จุฬารัตน์ เต็มกู้ , ฉัตราภรณ์  ฤทธิ์ธนอภิญญา ,ซันนี่ สุริยะ  ,รังสินี  เกษรชื่น, รุ่งทิวา สุวรรณผัน, วรรณษา ประโมทาติ, และวริษา สุวรรณปักษ์. (2562). รายงานการพัฒนาอนามัยชุมชนบ้านป่าตึง หมู่ที่ 7 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.

เทศบาลตำบลออนใต้. (2566). ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม2566. เข้าถึงได้จาก: https://ontai.go.th

วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-6198-6902, เทศบาลออนใต้ โทร. 0-5303-6043