
ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ อีกท้้งเป็นชุมชนที่เจ้าบุญญาวาทย์แห่งลำปางได้เคยมาพักแรมในพื้นที่บ้านฟ่อน เพื่อสมโภชวัดบ้านฟ่อน
ที่มาของชื่อมาจากคำว่า ฟ้อน ซึ่งในอดีตเคยใช้ชื่อว่า บ้านฟ้อน และค่อยกร่อนเสียงลงมาเป็นชื่อ บ้านฟ่อน
ศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ อีกท้้งเป็นชุมชนที่เจ้าบุญญาวาทย์แห่งลำปางได้เคยมาพักแรมในพื้นที่บ้านฟ่อน เพื่อสมโภชวัดบ้านฟ่อน
การสืบประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน โดยสืบความได้จากประวัติการสร้างวัดบ้านฟ่อน เมื่อนับเวลาย้อนหลังเป็นร้อยกว่าปี ก่อนมีชุมชนแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ณ เส้นทางผ่านขึ้นและล่องระหว่างเมืองนครลำปางกับเมืองกรุงเทพฯ และหัวเมืองอื่น ทางตอนใต้ตามหลักฐานข้อมูลที่หาได้ ทั้งจากคำบอกเล่าและตำนานเอกสาร พอจะรวบรวมได้จากหนังสือ “ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 8” ของกรมการศาสนา (พิมพ์ที่โรงพิมพ์ กรมการศาสนา พ.ศ. 2432) ระบุว่าวัดบ้านฟ่อนเดิมชื่อว่า วัดบ้านฟ้อนนางเหลียว ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2487 และประวัติการกอบกู้บ้านเมืองให้พ้นจากอิทธิพลของพม่า ในสมัยของหนานทิพย์ช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2275 ก็ได้มีการกล่าวถึงสมภารของวัดบ้านฟ่อนเอาไว้ว่า ด้วยพระอาโนชัยธรรมจินดามุณี อดีตเจ้าอาวาสวัดปงสนุกเหนือ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง รูปแรก (พ.ศ. 2389 - 2454) ได้บันทึกไว้ว่า เจ้าหลวงวรญาณรังสีราชธรรม เจ้าผู้ครองนครลำปางลำดับที่ 26 เป็นผู้สร้างวัดบ้านฟ่อนแห่งนี้เมื่อปี 2406 (หนังสือประวัดปงสนุกเหนือและบันทึกประจำปีของพระอาโนชัยธรรมจินดามุนี พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ พ.ศ.2439) ซึ่งก็นับได้ว่าวัดบ้านฟ่อนมีอายุถึง 146 ปีแล้ว
บ้านฟ้อนนางเหลียวแห่งนี้ กล่าวกันว่า แต่เดิมเป็นจุดที่พักและต้อนรับ เจ้าเมืองนครลำปาง สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า เป็นประเพณีของเจ้าเมืองนครลำปางที่ทุกครั้งเมื่อเสด็จไปนมัสการ วัดพระธาตุลำปางหลวง หรือเสด็จออกเมือง หรือเข้าเมืองจะต้องแวะพักที่หมู่บ้านแห่งนี้ สันนิษฐานกันว่า มีการเลี้ยงต้อนรับและมีการฟ้อนรำถวาย จึงได้เรียกชื่อบ้านว่า บ้านฟ้อนนางเหลียว ต่อมาเพี้ยนเสียงไปเป็น “บ้านฟ่อน” จวบจนปัจจุบัน เห็นได้ว่าจากเมื่อครั้งมีการทำรูปหล่อ พ่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตจากกรุงเทพฯ มาลำปาง เมื่อมาถึงบ้านฟ่อน ได้มีการพักค้างคืน ให้มีการสมโภชที่วัดบ้านฟ่อน ก่อนที่จะนำไปประดิษฐาน ณ องค์อนุสาวรีย์ที่หน้าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย หลังจากนั้นได้จัดตั้งเป็นชุมชนบ้านฟ่อน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2546
ลักษณะภูมิประเทศ
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 268.60 เมตร ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพทั่วไปเป็น ที่ราบ และที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำวัง และชุมชนบ้านสำเภา หมู่ที่ 9 ตำบลปงแสนทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนบ้านห้วยหล่อ หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านชมพู หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านต้า หมู่ที่ 10 ตำบลชมพู และชุมชนบ้านห้วยหล่อ หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านชมพู หมู่ที่ 7 ตำบลชมพู
ประชากรในพื้นที่บ้านฟ่าน ตำบล ชมพู อำเมือบงลำปาง จังหวัดลำปาง
- ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น 2409 คน แยกเป็น ชาย 1162 คน หญิง 1247 คน
- จำนวนครัวเรือน 1081 ครัวเรือน
ข้อมูลกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน มีจำนวน 9 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 470 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางศรีจันทร์ ฉกรรจ์แดง
- กลุ่มสตรีชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 593 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางมนัสนันท์ ไชยรังษี
- กลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 62 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางสมพร คำภิระแปง
- กลุ่มเยาวชน และกลุ่มหนุ่มสาวชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 20 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางเนาวนิตย์ อินทรวิจิตร
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้านฯ ชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 154 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายศิลป์ชัย แก้วบุญปัน
- กลุ่มสัจจะชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 154 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายศิลป์ชัย แก้วบุญปัน
- กลุ่มรวมช่างชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 35 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายสมศักดิ์ อุชัย
- กลุ่มเกษตรชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 35 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นายเมืองแก้ว มูลเมือง
- กลุ่มชมรมออกกำลังกายชุมชนบ้านฟ่อน จำนวนสมาชิก 30 คน โดยมีประธานกลุ่ม คือ นางพรสวรรค์ เครือนวล
ภาษาไทยถิ่นเหนือหรือภาษาล้านนา ซึ่งในอดีตเคยมีการใช้อักษรธรรมล้านนา
- มีหนี้สินนอกระบบ
- ไม่มีอาชีพเสริม
- รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
- เด็ก และเยาวชนมั่วสุมดื่มสุราภายในชุมชน
- มีถนนบางแห่งชำรุด
- ฝาท่อระบายน้ำเสียหายเป็นบางจุด ช่วงถนนสายชุมชนบ้านต้า - ชุมชนบ้านชมพู
- เยาวชนไม่สนใจวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน
- มีปัญหาด้านขยะภายในชุมชน และข้างถนน
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร. (2566). ชุมชนบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. จาก https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/