Advance search

พื้นที่ป่า ถ้ำ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทใหญ่

ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
แม่ละนา การ์เด้นโฮม โทร. 08-1706-6021, อบต.ปางมะผ้า โทร. 0-5204-0147
ปรายฟ้า ตั้งจิตติวัฒนา
5 มี.ค. 2023
ปรายฟ้า ตั้งจิตติวัฒนา
18 เม.ย. 2023
ชุมชนบ้านแม่ละนา

ดิมชื่อแม่ลัดนา เนื่องจากมีแม่น้ำไหลผ่านทุ่งนา และหมู่บ้าน ต่อมามีการออกเสียงเพี้ยนจนกลายเป็นแม่ละนา


พื้นที่ป่า ถ้ำ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทใหญ่

ปางมะผ้า
ปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอน
58510
19.299999
97.966667
องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะผ้า

บ้านแม่ละนาน เป็นหมู่บ้านชาวไทใหญ่ (ไต) เป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน มีประวัติศาสตร์ในการสร้างบ้านเฮ็ดเมืองนานกว่า 200 ปี เดิมทีชาวบ้านแม่ละนาอพยพมาจากประเทศพม่า นำโดยนายฮ้อยสาม เดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เอิ่งข้าง ประมาณ 20 หลังคาเรือน ต่อมาได้เกิดการเจ็บป่วยและตาย จึงเกิดการย้ายถิ่นฐาน ส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่แม่ละนาประมาณ 10 หลังคาเรือน นำโดย ส่างกี และอีก 10 หลังคาเรือนได้ย้ายไปที่เวียงแหง ต่อมา ส่างกีก็ย้ายไปที่เวียงแหง ชาวบ้านจึงได้ขอให้นายส่างทุนขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของแม่ละนา ต่อมาเมื่อทางการเข้ามาจึงได้แต่งตั้งผู้นำทางการขึ้น คือ สิบเอกปัญญา (กำนัน) ซึ่งเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการคนแรก ไม่นานสิบเอกปัญญาได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงมีการเลือกผู้นำคนใหม่ (เป็นกำนัน) ซึ่ง นายทุน ได้รับเลือกเป็นผู้นำคนต่อมา (กำนัน) ตั้งแต่สมัยสิบเอกปัญญา จนถึงปัจจุบัน แม่ละนามีกำนันมาทั้งหมด คน และผู้ใหญ่บ้าน คน ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านคือ นาย ชรินทร์ จรรยาไพรจิต (พ.ศ.2554)

 

บ้านแม่ละนา เดิมชื่อแม่ลัดนา เนื่องจากมีแม่น้ำไหลผ่านทุ่งนา และหมู่บ้าน  ต่อมามีการออกเสียงเพี้ยนจนกลายเป็นแม่ละนา คนในชุมชนเล่าว่าในสมัยก่อนบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าชุกชุม อาทิ เสือ กวาง หมูป่า ช้างป่า วัวแดง  และสัตว์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ ๆ มีน้ำเหมาะสมในการตั้งที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร เมื่อนายฮ้อยสามซึ่งเป็นคนไทใหญ่มาจากพม่าได้มาทำการสำรวจพื้นที่บริเวณนี้และเห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์  จึงได้ทำการถางพื้นที่โดยใช้ช้างในการชักลากไม้ใหญ่และปรับเปลี่ยนเป็นที่นา ปลูกสร้างกระท่อมเป็นที่อยู่อาศัยในภายหลังได้เกิดร่องน้ำใหม่ไหลผ่าน เรียกว่า แม่น้ำแม่ละนาดังเช่นในปัจจุบัน

 

 

พื้นที่หมู่บ้านแม่ละนา  เป็นที่ราบกลางหุบเขา  มีพื้นที่หมู่บ้านรวมทั้งหมด 11,950 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 350 ไร่  พื้นที่ทำไร่ 421 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีความอุดมสมบูรณ์สูง ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอปางมะผ้า 18 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

 

ทิศเหนือ            ติดกับประเทศสหภาพพม่า

 

 

 

 

 

ทิศใต้                ติดกับบ้านบ่อไคร้ บ้านจ่าโบ่

 

 

 

 

 

ทิศตะวันออก      ติดกับบ้านถ้ำลอด

 

 

 

 

 

ทิศตะวันตก        ติดกับบ้านไม้อุง บ้านขางดามน้อย

 

 

ประชากรในหมู่บ้านแม่ละนาส่วนมากเป็นชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากประเทศพม่า พูดภาษาและแต่งกายแบบไทใหญ่ นับถือศาสนาพุทธมาแต่ครั้งอดีต เมื่อตั้งหมู่บ้านก็มีการสร้างวัดแม่ละนา ชุมชนมีอายุเก่าแก่มากกว่า 200 ปี คนที่อยู่ในปัจจุบันส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม และมีบางคนที่ได้อพยพมาจากประเทศพม่าระหว่างที่มีการสู้รบตามแนวชายแดน ตระกูลเก่าแก่ที่สุดในบ้านแม่ละนา คือ ตระกูล วงศ์เมือง และ ตระกูล วงศ์จันทร์ ปัจจุบันบ้านแม่ละนามีประชากรทั้งสิ้น 704 คน จากทั้งหมด 165 ครัวเรือน

 

คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ โดยมีกลุ่มทางสังคม ดังนี้

 

กลุ่มแม่บ้าน

 

 

มีการรวมกลุ่มกันในปี พ.ศ. 2517  โดยได้รับการสนับสนุนในเกิดการรวมตัวกันจากโครงการไทย - เขอรมัน ที่มีการเข้าปฏิบัติงานในบริเวณหมู่บ้านแถบนี้ เพื่อให้แม่บ้านมีงานทำ มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชน และเป็นการสอนให้เกิดการทำกิจกรรมต่างๆ

 

 

กลุ่มผู้เลี้ยงธุกร 

 

 

มีการขัดตั้งกลุ่มจากการส่งเสริมของพัฒนาชุมชนในปี พ.ศ. 2537 มีสมาชิกทั้งหมด 32 คน เริ่มแรกมีทุน 23.250 บาท เป็นการรวมกลุ่มเพื่อกู้ยืมเงินใช้ในทางการเกพตร มีระยะเวลาการให้กู้ 1 ปี และต้องมีการหมุนเวียนกันกู้ ผู้ยืมไม่ตามารถจะกู้ดิดต่อกันได้ มีการตั้งกฎระเบียบ

 

 

1. สมาชิกแม่บ้านทุกคนมีสิทธิ์กู้ยืมเงินเพื่อใช้เลี้ยงสุกรได้ทุกคน

 

 

2. คณะกรรมการจะเปิดให้ยืมเงินเป็นงวด งวดละ 1 ปี

 

 

3. ถ้ากรบ 1 ปี คณะกรรมการจะเรียกเก็บเงินทั้งค้นและดอกแต่ละบี

 

 

4. ผู้ที่กุ้ยืมจะต้องมีคนค้ำประกัน 1 ราย

 

 

ร. แต่ละรายสามารถกู้มได้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท

 

 

6. ผู้ยืมจะต้องใช้ดอกรอบหนึ่งปี 30 บาท ต่อเงินกู้ไม่จำกัดไม่เกิน 2,000 บาท

 

 

กลุ่มการทำข้าวข้อมมือ

 

 

ได้รับการส่งเสริมจากกรมพัฒนาชุมชน ในปี พ.ศ. 2542 มีการรวมกลุ่มกันเพื่อเป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชน โคยมีการรวมหุ้นกันคนละ 20 บาท ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ

 

 

ต้นทุนในการจัดซื้อข้าวเพื่อมาทำข้าวซ้อมมือมีราคาสูง ไม่สามารถเก็บรักษาข้าวได้นาน ไม่มีตลาดรองรับผลผลิต ทำให้การผลิตข้าวซ้อมมือไม่ประสบผถสำเร็จและทางกลุ่มยังเห็นว่าการผลิตข้าวซ้อมมือทำการลงทุนที่สูญเปล่า เพราะเมื่อไม่มีตลาดรองรับทำให้ชาวบ้านด้องนำผลผลิตที่ได้กลับมากลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในราคาต่ำกว่าดันทุน

ปฏิทินการท่องเที่ยว     

 

มกราคม             เลี้ยงศาลเจ้า ทำบุญบ้าน

 

 

กุมภาพันธ์          ประเพณีข้าวยาคู หรือข้าวเหนียวแดง

 

 

มีนาคม              ปะเพณีปอยส่างลอง

 

 

เมษายน             ประเพณีสงกรานต์ ข้าวมูลห่อ รดน้ำดำหัว และเล่นสะบ้า

 

 

พฤษภาคม         ประเพณีปอยก่อเจดีย์ทราย ปอยหางน้ำ (ทำบ้องไฟ)

 

 

มิถุนายน            ประเพณีเลี้ยงศาลเจ้า เลี้ยงผีต้นน้ำ

 

 

กรกฎาคม          เข้าพรรษา

 

 

สิงหาคม            เข้าพรรษา ผู้เฒ่าจำศีล และทำบุญทุกวันพระ

 

 

กันยายน            ปอยต่างซอมต่อหลวง (ถวายข้าวมธุปายาตรแก่ผู้เฒ่าจำศีล)

 

 

ตุลาคม              ประเพณีออกพรรษา หรือจองพาลา

 

 

พฤศจิกายน        ประเพณีดับไฟเทียน ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า

 

 

ธันวาคม             ประเพณีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานรื่นเริง เช่น รำนก รำโต

 

 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนกายภาพ

 

ป่า

 

 

พื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่ป่าใช้สอย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่เลี้ยงสัตว์

 

 

ถ้ำ

 

 

ถ้ำแม่ละนา มีความยาว 12 กิโลเมตร สูง 10 เมตร กว้าง 20 เมตร เป็นถ้ำที่มีน้ำไหลผ่าน ภายในถ้ำมีน้ำตก เขียดแลว ปลาไม่มีตา หอยทาก หอยจิ๋ว ปลามุง วังค้างคาว หินงอกหินย้อย ม่านหิน มุกหิน เสาหิน เป็นสิ่งอลังการตากับผู้พบเห็น แต่ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวเข้าชมได้เฉพาะในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน เท่านั้น

 

 

ถ้ำปะการัง มีความยาว 600 เมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย หินไขมุก

 

 

ถ้ำเพชร มีความยาว 500 เมตร กว้าง 5 เมตร สูง 6 เมตร ภายในถ้ำมี หินม่าน หินไข่มุก เกิดจากธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ในยามที่แสงไฟตกระทบ จะเกิดแสงสะท้อนระยิบระยับเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น

 

 

ถ้ำหินไข่มุก  มีความยาว 300 เมตร กว้าง 10 เมตร สูง 15 เมตร มีหินงอกหินย้อยและหินไข่มุก

 

 

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

อาหาร

 

 

เนื้อลุง – หลาม และ อุบ

 

 

ผักกูด ผักกาด ส้มปี้ยำ ส้มแกงยำ

 

 

ไก่อบ ไก่ต้มงา ไก่ฮังเล ผัดมะเขือเครือ

 

 

เนื้อส้ม ปลาส้ม เนื้อเตก ปลาเตก

 

 

น้ำพริกอ่อง น้ำพริกอุบ น้ำพริกคั่วทราย

 

 

อาหารที่ปรุงจากถั่วเน่า (ถั่วเหลืองหมักแล้วทำเป็นแผ่น)

 

 

ผัดวุ้นเส้นใส่ผักต่าง ๆ

 

 

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

 

 

ข้าวส้ม คือข้าวคลุกเคล้ากับขมิ้นและกระเทียมเจียวปั้นเป็นแผ่นกลมแบน นิยมกินกับยำถั่วแขกและพริกทอด

 

 

ข้าวเหลือง คือข้าวเหนียวคลุกขมิ้นปั้นเป็นก้อนกลมโรยด้วยหอมเจียว

 

 

ข้าวกั้นจิ้น หรือ “ข้าวเงี้ยว” คือข้าวสวยคลุกเลือดหมูห่อใบตองนำไปนึ่งโรยด้วยกระเทียมเจียว กินกับพริกทอด

 

 

ขนมเจ้า ทำมาจากแป้งเคี้ยวด้วยน้ำอ้อยใส่งาและมะพร้าว

 

 

ขนมวง ก็ทำมาจากแป้งผสมน้ำอ้อยโรยด้วยงาเหมือนกันแต่จะทำเป็นวง

 

 

ขนมถาดขึ้นเพื่อใช้รับประทานในชีวิตประจำวันอีกด้วยก็คือ ขนมเปโม้ว หรือที่รู้จักในนาม “เค็กไทใหญ่” ทำจากแป้งข้าวเจ้าใส่น้ำอ้อยราดหน้าด้วยกะทิ จะทำในโอกาสงานบุญเท่านั้น แต่ปัจจุบันแม้ไม่มีงานบุญก็สามารถหารับประทานได้

 

 

ขนมอะละหว่า ทำเหมือนกับเปโม้วแต่จะใส่น้ำตาลแทนน้ำอ้อย ส่วนขนมส่วยทะมิน ทำจากข้าวเหนียวใส่น้ำอ้อยและกะทิ จากนั้นจะนำถ่านไฟร้อน ๆ มาวางด้านบนของขนม จึงปรากฏเป็นรอยไหม้อยู่ด้านบนของหน้าขนม

 

 

ประเพณีที่สืบทอด

 

 

·      ข้าวจอง – ข้าววัด การแบ่งข้าวที่ได้จากการเก็บเกี่ยวนำไปถวายวัด

 

 

·      การเลี้ยงศาลกลางบ้าน จัดปีละครั้ง เพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีให้ออกจากบ้าน

 

 

·      พิธีสู่ขวัญควาย การขอขมาควายก่อนและหลังทำนา

 

 

·      ประเพณีกลองยาว ภาษาถิ่นเรียกว่า ไห่ก๋องก้นยาว ประกอบด้วย กลองยาว 1 ใบ ฉาบ 1 ใบ ฆ้องใหญ่ 1 ฆ้องเล็ก 1 นิยมตีในเทศกาลงานบุญต่าง ๆ

 

 

·      การตีกลองมองเชิง ประกอบด้วย กลอง 2 หน้า ฉาบ ฉิ่ง ฆ้องใหญ่ ฆ้องกลาง ฆ้องเล็ก นิยมตีในงานเทศกาล

 

 

·      ประเพณีบรรพชาสามเณร หรือ ปอยส่างลอง ในช่วงฤดูร้อนเพื่อให้เด็กที่ปิดภาคเรียนได้เข้าศึกษาธรรมะ

 

 

·      ลิเกไทใหญ่ หรือจ๊าตไต เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของคนไต  หรือชาวไทยใหญ่  ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม จ๊าดไตมีลักษณะคล้ายลิเกของชาวไทยภาคกลางคือมีการร้องและร่ายรำที่มีลักษณะเฉพาะศิลปะการแสดงนี้ได้ถูกละเลยมานานหลายสิบปี  ในปี 2543  ได้เกิดการรวบรวมกลุ่มคนที่สนใจและมองเห็นในคุณค่าของการจ๊าดไต และริเริ่มฟื้นฟูอนุรักษ์และถ่ายทอดสู่ลูกหลานคนรุ่นใหม่

 

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

·      วิธีการจับปลากั้ง

 

 

·      การตัดไม้ไผ่

 

 

·      สมุนไพร

 

 

·      การทำน้ำมันงาด้วยกระบวนการธรรมชาติ

 

 

 

·      การทอผ้า

 

 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สุภาวดี มีสิทธิ์. (2545). วิจัยเชิงปฎิบัติการ เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถองค์กรชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน (รายงานวิจัย). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

 

แม่ละนา. (2560). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก:http://https://phoenixtourblog.wordpress.com/mae-rana/

 

 

แม่ละนา การ์เด้นโฮม โทร. 08-1706-6021, อบต.ปางมะผ้า โทร. 0-5204-0147